Page 24 - kpiebook66013
P. 24

กับสภาพของเศรษฐกิจและสังคมแห่งรัฐนั้นๆ อย่างไรก็ตาม ส่วนที่เป็นเงื่อนไขเฉพาะ
            ส�าหรับการจ้างงานบางประเภทด้วยเหตุที่สภาพและบริบทของการท�างาน

            ย่อมเข้าใจในทางปฏิบัติได้ว่าในงานเช่นนั้นย่อมเป็นเรื่องธรรมดาที่เงื่อนไข
            การจ้างงานจะมีความเฉพาะพิเศษแตกต่างจากมาตรฐานขั้นต�่าในการใช้แรงงาน

            ที่รัฐตราขึ้นส�าหรับการจ้างงานทั่วไป และเพื่อความเหมาะสมกับงาน หรือวิชาชีพนั้นๆ
            การก�าหนดเงื่อนไขอันพิเศษเฉพาะดังกล่าวควรให้เป็นไปตามความตกลงของ

            ภาคีสังคม (les partenaires sociaux)  อันประกอบด้วยตัวแทนกลุ่มอาชีพที่มาจาก
                                          34
            ทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง ท�าให้ที่มาภายในของกฎหมายแรงงานนอกจากบทบัญญัติ

            ล�าดับพระราชบัญญัติและกฎหมายล�าดับรองแล้ว ก็อาจอยู่ในรูปของ “ข้อตกลง
                                                       35
            ร่วมกันของภาคีสังคม (Convention Collective)”  ซึ่งไม่ประจักษ์ชัดในระบบ
            กฎหมายไทย อย่างไรก็ตาม ระบบกฎหมายแรงงานไทยยอมรับแต่ “ข้อตกลง
            เกี่ยวกับการจ้างงาน” ที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการแต่ละแห่งตามความ

                                                  36
            ในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518  กระนั้น ในทางปฏิบัติมักปรากฏว่า
            34   “ภาคีสังคม (les partenaires sociaux)” หมายความว่า ตัวแทนทางเศรษฐกิจที่มีส่วนร่วม
            ในการเจรจาเพื่อก�าหนดข้อบังคับทางสังคม (เงื่อนไขการจ้างแรงงานและบริบทอื่นที่เกี่ยวข้องกับ
            การท�างาน) โดยหลักการแล้ว ตัวแทนดังกล่าวนี้ประกอบด้วยองค์กรด้านแรงงานฝ่ายลูกจ้าง
            และองค์กรด้านแรงงานฝ่ายนายจ้าง อย่างไรก็ตาม ข้อบังคับทางสังคมเช่นว่านี้อาจเกิดจาก
            การเจรจาทางสังคมที่มีตัวแทนจากรัฐเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยก็ได้ ด้วยเหตุนี้แล้ว อาจท�าให้เข้าใจ
            ได้ว่า ภาคีสังคมมีบทบาทในการท�าให้เกิดธรรมาภิบาลทางสังคมและเศรษฐกิจผ่านการเป็น
            ตัวแทนของผลประโยชน์และปัญหาที่เกี่ยวกับการแรงงาน ภาคีสังคมจะใช้สภาพการจ้างงาน
            การพัฒนาฝึกอบรมฝีมือแรงงานอย่างต่อเนื่อง และกรอบความคิดเกี่ยวกับค่าจ้าง เป็นเครื่องมือ
            ในการแทรกแซงสังคม การเจรจาของภาคีสังคมเป็นไปในนามของสมาชิกและผลลัพธ์ที่ได้
            จากการเจรจาคือข้อตกลงร่วมกันที่เป็นกติกาที่เกิดขึ้นจากความเห็นพ้องร่วมกันของสังคม
            อันท�าให้รัฐมีหน้าที่ในการออกกฎหมายเท่าที่จ�าเป็นในส่วนที่การเจรจาของภาคีสังคมไม่ได้
            ก�าหนด (ผู้เขียน).

              โปรดอ่าน Toupictionnaire : Le dictionnaire de politique, partenaires sociaux,
            « En ligne » https://www.toupie.org/Dictionnaire/Partenaires_sociaux.htm, accès
            12 septembre 2022.
            35   Jean Pélissier, Alain Supiot et Antoine Jeammaud, Droit du travail, Précis Dalloz,
            21  édition, 2002, p.118 – p.131.
              e
            36   พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 10 - มาตรา 13.



           24     การปรับปรุงกฎหมายแรงงาน
                  ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29