Page 26 - kpiebook66013
P. 26

ตัวอย่างกรณีศึกษาหรือบทเรียนจากข้อเท็จจริงเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ได้ปรากฏ
            แนวค�าพิพากษาของศาลฎีกาอยู่เรื่องหนึ่งที่แสดงได้ว่าค�าพิพากษาเป็นที่มาของ

            กฎหมายแรงงาน กล่าวคือ ในกฎหมายแรงงานสัมพันธ์นั้น การกระท�าใดที่ท�าให้
            ลูกจ้างไม่สามารถทนท�างานอยู่ต่อไปได้ รวมถึงการเลิกจ้าง อันมีเหตุมาจาก

            การที่ลูกจ้างใช้สิทธิต่างๆ ในการแรงงานสัมพันธ์ การกระท�านั้นเรียกว่า “การกระท�า
            อันไม่เป็นธรรม”  ลูกจ้างผู้เสียหายสามารถร้องให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
                          37
            วินิจฉัยตัดสินได้  อย่างไรก็ตาม กรณีที่การใช้สิทธิในการแรงงานสัมพันธ์เป็นไป
                          38
            ในลักษณะของการยื่นข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้าง และข้อเรียกร้องนั้น

            ได้รับการตกลงจากฝ่ายนายจ้างจนกลายเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
            ฉบับใหม่ขึ้นมา ระหว่างที่ข้อตกลงฉบับใหม่มีผลบังคับใช้ นายจ้างไม่อาจเลิกจ้าง

            ลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเจรจาต่อรองที่ผ่านมาได้ มิเช่นนั้นถือว่า
            นายจ้างได้กระท�าการอันไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง

            เว้นแต่ลูกจ้างได้กระท�าความผิดอย่างหนึ่งอย่างใดตามความในมาตรา 123 (1) – (5)
            ของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 นายจ้างจึงจะเลิกจ้างลูกจ้าง

            ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องนั้นได้และไม่ถือว่าเป็นการกระท�าอันเป็นธรรม
            ดังนี้จึงเกิดค�าถามว่า กรณีที่นายจ้างประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ขาดสภาพคล่อง

            ไม่สามารถด�าเนินกิจการได้อย่างปกติ ซึ่งเป็นกรณีไม่เข้าเงื่อนไขมาตรา 123 (1) – (5)
            ของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ท�าให้นายจ้างไม่อาจเลิกจ้างลูกจ้าง

            ซึ่งเคยเข้าไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการยื่นข้อเรียกร้องได้ มิฉะนั้นต้องถือว่าเป็น
            การกระท�าอันไม่เป็นธรรม เพราะเหตุแห่งการเลิกจ้าง (ธุรกิจขาดสภาพคล่อง)

            ไม่เข้าเงื่อนไขมาตรา 123 (1) – (5) ของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
            จากข้อค�าถามดังกล่าวเมื่อพิจารณาโดยรอบย่อมเห็นได้ว่าเหตุผลที่นายจ้างอ้าง

            เพื่อเลิกสัญญาจ้างแรงงาน หากปรากฏความตามนั้นจริง ย่อมเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ
            แก่ฝ่ายนายจ้าง เพราะเป็นความจ�าเป็นที่นายจ้างจ�าต้องเลิกจ้างลูกจ้าง (บางส่วน)

            เพื่อพยุงสถานะของกิจการ ไม่ได้เกิดขึ้นจากเจตนากลั่นแกล้งลูกจ้างแต่ประการใด
            แต่เมื่อบทกฎหมายไม่ได้เขียนข้อยกเว้นนี้ไว้ให้ ศาลจึงจ�าต้องตีความเจตนารมณ์


            37   พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 124.
            38   พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 - มาตรา 123.



           26     การปรับปรุงกฎหมายแรงงาน
                  ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31