Page 27 - kpiebook66013
P. 27

ของมาตรา 120 - มาตรา 123 ของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
               ว่ากฎหมายต้องการปกป้องการใช้สิทธิในการแรงงานสัมพันธ์ของลูกจ้าง ดังนี้แล้ว

               การใดที่นายจ้างได้กระท�าไปอันเป็นเหตุควรเชื่อได้ว่าเป็นการกลั่นแกล้งลูกจ้าง
               ซึ่งได้ใช้สิทธิในการแรงงานสัมพันธ์จึงเป็นเรื่องต้องห้าม แต่การใดที่นายจ้าง

               ได้กระท�าไปโดยเห็นได้ว่าไม่ได้มีเจตนากลั่นแกล้งฝ่ายลูกจ้าง แต่เป็นเหตุจ�าเป็น
               ของฝ่ายนายจ้างอันเกี่ยวด้วยการประสบปัญหาทางเศรษฐกิจท�าให้การประกอบ

               กิจการไม่อาจด�าเนินได้อย่างเป็นปกติ แม้จะไม่เข้าเงื่อนไขข้อยกเว้นของกฎหมาย
               แต่เพื่อความเป็นธรรม ศาลจึงมีวินิจฉัยตามนัยค�าพิพากษาของศาลฎีกา

               ที่ 3303/2525 ค�าพิพากษาของศาลฎีกาที่ 3043/2541 และ ค�าพิพากษาของ
               ศาลฎีกาที่ 7042 - 7046/2542 ว่าการเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเคยเกี่ยวข้องกับ

               กระบวนการยื่นข้อเรียกร้อง แม้จะไม่เข้าเหตุใดเหตุหนึ่งของมาตรา 123 (1) – (5)
               ของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 แต่เป็นไปเพราะเหตุเศรษฐกิจ

               การขาดสภาพคล่องอย่างมีนัยยะส�าคัญของสถานประกอบกิจการ หรือนายจ้าง
               ล้มละลาย หรือต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเหล่านี้แล้ว การกระท�าดังกล่าว

               ย่อมไม่อาจถือว่าเป็นการกระท�าอันไม่เป็นธรรมได้ ผลของค�าพิพากษาชุดนี้
               ยังใช้บังคับรวมตลอดไปถึงมาตรา 31 ของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์

               พ.ศ. 2518 ซึ่งแม้จะมิใช่เรื่องการกระท�าอันไม่เป็นธรรม แต่เป็นเรื่องในท�านอง
               การคุ้มครองสิทธิในการแรงงานสัมพันธ์ของลูกจ้าง 39


                          นอกจากชุดค�าพิพากษาดังกล่าวข้างต้นนี้ก็ไม่พบแนวค�าพิพากษา
               ในคดีแรงงานอื่นใดอีกเลยที่ปรากฏผลวินิจฉัยแตกต่างไปจากตัวบทกฎหมาย

               จึงถือได้ว่ากรณีเช่นเป็นกรณีที่เกิดขึ้นได้ยากในบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทย
               และเมื่อมีการยอมรับและยึดถือปฏิบัติต่อกันมาจนกลายเป็นบรรทัดฐานของ

               กฎหมาย ท�าให้เกิดการตั้งค�าถามได้ว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวเพียงพอต่อการพัฒนา
               ปรับปรุงบทบัญญัติว่าด้วยการแรงงานสัมพันธ์ในประเด็นการกระท�าอันไม่เป็นธรรม

               โดยเพิ่มเหตุจ�าเป็นทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริงและส�าคัญต่อนายจ้างว่าเป็นเหตุ
               ยกเว้นการกระท�าอันไม่เป็นธรรมอีกเหตุหนึ่ง เพิ่มเติมจากเหตุอื่นที่กฎหมาย

               ก�าหนดหรือไม่ เพียงใด


               39   ค�าพิพากษาของศาลฎีกาที่ 2588 – 2606/2557.

                                                                                  27
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32