Page 29 - kpiebook66013
P. 29
และประการที่สอง การวินิจฉัยโดยอาศัยข้อเท็จจริงว่า “...การปฏิบัติตามค�าสั่งของ
ผู้ฝึกสอน เจ้าหน้าที่ทีม หรือผู้บริหารทีมของผู้ว่าจ้าง” เป็นการมุ่งต่อเป้าหมาย
ส�าคัญของผู้ว่าจ้าง ย่อมท�าให้เกิดข้อสงสัยได้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวยังไม่เป็น
การเพียงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นการท�าตามอ�านาจบังคับบัญชาของฝ่ายนายจ้าง
อันจะท�าให้สัญญานักฟุตบอลกลายเป็นสัญญาจ้างแรงงาน เช่นนี้แล้วหากในอนาคต
ต่อไปปรากฏว่ามีการโต้แย้งสิทธิระหว่างเอกชน 2 ฝ่ายเกิดขึ้นอันเนื่องมาจาก
ประเด็นเรื่องอ�านาจบังคับบัญชา ก็ย่อมอนุมานได้ว่าแนวทางของศาลไทย
น่าจะตีความพฤติกรรมที่แสดงถึงอ�านาจบังคับบัญชาของฝ่ายนายจ้างไปในทางจ�ากัด
กล่าวคือ อาจหมายความแต่เฉพาะวิธีการสั่งการหรือบัญชาการที่เคยปรากฏเป็น
ปกติในสังคมแรงงานอุตสาหกรรมแบบเดิม เช่น การตอกบัตรเวลาท�างาน การยื่น
ค�าขออนุมัติวันลา ระเบียบวินัยโทษที่ลูกจ้างอาจได้รับกรณีฝ่าฝืนค�าสั่งอันชอบด้วย
กฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง ดังนี้ ย่อมสันนิษฐานได้ว่าวิถีการจ้างงาน
แบบใหม่ เช่น สัญญาจ้างให้ท�าการงานผ่านพลตฟอร์ม ที่ศาลยุติธรรมในหลากหลาย
ประเทศเห็นพ้องว่าการจ้างงานให้ท�างานผ่านแพลตฟอร์มมีลักษณะของสัญญา
จ้างแรงงานแบบหนึ่ง อันท�าให้ลูกจ้างในสัญญาจ้างงานแพลตฟอร์มมีสิทธิ
ในกฎหมายแรงงาน ย่อมไม่อาจเกิดขึ้นได้อย่างถนัดนักในบริบทกฎหมายไทย
กระนั้น ในช่วง พ.ศ. 2556 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ
ส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2556 โดยพระราชบัญญัติฉบับนี้ก�าหนดให้มี
คณะกรรมการกีฬาอาชีพขึ้นท�าหน้าที่ในการออกระเบียบหลักเกณฑ์ วิธีการ และ
เงื่อนไขการจดแจ้งนักกีฬาอาชีพ สโมสรกีฬาอาชีพ รวมทั้งก�าหนดมาตรฐานการจ้าง
มาตรฐานความปลอดภัยให้เป็นธรรมและเป็นไปตามมาตรฐานสากล ที่อนุมาน
ได้ว่ากฎหมายฉบับนี้เป็นหลักเกณฑ์พิเศษที่คุ้มครองนักกีฬาอาชีพโดยเฉพาะ
ซึ่งศาลเองก็อาจพิจารณาข้อเท็จจริงส่วนนี้ประกอบความเป็นกฎหมายที่ใช้
บริหารจัดการแรงงานภาคอุตสาหกรรมของกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงาน
ดังนี้แล้วหากค�าพิพากษาออกมาในทิศทางที่ให้สัญญาจ้างนักฟุตบอลเป็นสัญญา
จ้างแรงงานก็อาจท�าให้เกิดความยุ่งยากในการบังคับใช้กฎหมายทั้ง 2 ฉบับ
โดยฉบับหนึ่งเป็นหลักทั่วไป และอีกฉบับหนึ่งเป็นบทเฉพาะพร้อมกันได้
ด้วยความเคารพการวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าต้องด้วยลักษณะของสัญญาจ้างแรงงาน
29