Page 16 - kpiebook66013
P. 16

และความมั่นคงของมนุษย์ การจัดการกับปัญหาแรงงานต่างด้าวจึงต้องพิจารณา
            ความจ�าเป็นของการมีแรงงานข้ามชาติประกอบกับผลกระทบของแรงงานข้ามชาติ

            โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ กับทั้งพันธกรณีระหว่างประเทศ
            ที่ไทยมีต่อแรงงานข้ามชาติเหล่านั้นประกอบกัน (2) ยุทธศาสตร์ชาติ

            ด้านการพัฒนาและเสริมศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ กล่าวคือ เน้นการพัฒนาคน
            ในทุกมิติและทุกช่วงอายุให้เป็นคนดี คนเก่ง และคนมีคุณภาพโดยที่มีความพร้อม

            ส�าหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 ตลอดจนให้สังคมไทยมีสภาพแวดล้อม
            เอื้อและสนับสนุนต่อการพัฒนาคนที่ค�านึงถึงพหุปัญญามนุษย์ตลอดช่วงชีวิต

            และ (3) ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม กล่าวคือ
            เน้นการสร้างความเป็นธรรม และลดความเหลื่อมล�้าในทุกมิติ กระจายศูนย์กลาง

            ความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม เพิ่มโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามาเป็นก�าลัง
            ของการพัฒนาประเทศในทุกระดับ และเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น

            ในการพัฒนา การพึ่งตนเองและการจัดการตนเองเพื่อสร้างสังคมคุณภาพ
                                                                                17
            ส�าหรับ “แผนการปฏิรูปกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ” นั้น มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ

            การแรงงานโดยตรง 3 ประการด้วยกัน กล่าวคือ (1) การจัดให้มีกลไกในการปรับปรุง
            กฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ที่บังคับใช้อยู่นั้น ไม่ให้เป็นอุปสรรค

            ต่อการด�ารงชีวิตหรือการประกอบอาชีพ และไม่เป็นภาระต่อประชาชนเกินจ�าเป็น
            หน่วยราชการผู้มีหน้าที่รักษาการตามกฎหมายจึงต้องด�าเนินการต่างๆ อันเป็น

                                                         18
            การประเมินและจัดให้มีซึ่งสัมฤทธิ์ผลของบทกฎหมาย  (2) การจัดให้มีกลไกต่างๆ
            ให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายต่างๆ ได้โดยสะดวก และสามารถเข้าใจกฎหมาย

                                                         19
            ได้โดยง่ายเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง  อันเป็นที่มาของแนวคิด
            ในการจัดท�าประมวลกฎหมายขึ้นนั่นเอง  และ (3) การด�าเนินการตามแผน
                                                 20

            17   ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์, วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์ และฉัฏฐเมษ ภิรมย์พานิช, รายงานวิจัย
            ฉบับสมบูรณ์ เรื่อง บทบาทและหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้านการแรงงาน
            ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ, อ้างแล้ว, หน้า 52 – 57.
            18   โปรดดูรายละเอียดใน 4) สัมฤทธิ์ผลของกฎหมาย, หน้า 7.
            19   รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 77 และมาตรา 257 ค. (1).
            20   สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนปฏิรูปด้านกฎหมาย, (ออนไลน์) http://nscr.
            nesdb.go.th/wp-content/uploads/2018/10/03กฎหมาย.pdf, เข้าถึงเมื่อ 7 กันยายน 2565.



           16     การปรับปรุงกฎหมายแรงงาน
                  ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21