Page 14 - kpiebook66013
P. 14
(ก) รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพ
พื้นฐานเกี่ยวกับการแรงงานโดยตรงไว้ 4 ประการ (1) การบริหารราชการแผ่นดิน
และการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายจ�าเป็นต้องค�านึงถึงสิทธิและเสรีภาพ
ดังกล่าวนี้ นอกจากนี้แล้ว “ยุทธศาสตร์ชาติ” และ “แผนการปฏิรูปประเทศ”
เป็นเครื่องมือใหม่ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งปรากฏขึ้นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่
ของสามฝ่ายอ�านาจ และองค์กรอิสระต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ ในประเด็นต่างๆ รวมถึง
การบริหารจัดการแรงงาน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาเรื้อรังของประเทศ และพัฒนา
ประเทศให้ไปสู่เป้าหมายเดียวกัน (2) ทว่า “ยุทธศาสตร์ชาติ” เป็นการก�าหนด
ประเด็นเป้าหมายที่ประเทศไทยมุ่งจะไปสู่ แต่ด้วยความเป็นกฎหมายสูงสุดของ
รัฐธรรมนูญท�าให้ส่วนที่เป็นรายละเอียดและวิธีการในการด�าเนินการเพื่อให้ไปสู่
ประเด็นเป้าหมายตามยุทธศาสตร์นั้น จึงมิได้ถูกก�าหนดลงไว้ในรัฐธรรมนูญพร้อมกับ
ตัวประเด็นเป้าหมาย แต่รัฐธรรมนูญได้ก�าหนดให้ไปจัดท�าแผนต่างๆ ที่จะท�าให้
ยุทธศาสตร์ที่ถูกก�าหนดขึ้นแล้วนั้น สามารถบริหารจัดการให้ส�าเร็จได้ตามเป้าหมาย
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เรื่องอื่น และสามารถบูรณาการกับบริบทต่างๆ
ของประเทศได้ ดังนั้น จึงมีการจัดท�า “แผนแม่บทภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ”
เพื่อก�าหนดหัวเรื่องที่จะน�ามาใช้ในการอธิบายประเด็นยุทธศาสตร์บางประเด็น
และในภาพรวมทั้งหมดได้ (3) นอกจากนี้แล้ว การประเมินสัมฤทธิ์ผลของกฎหมาย
และการด�าเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้กฎหมายมีสัมฤทธิ์ผล เป็นเครื่องมือ
ตามรัฐธรรมนูญที่เพิ่งมีขึ้นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560 (4) โดยหน่วยงานของรัฐหรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องโดยตรง
กับบทกฎหมายมีหน้าที่จะต้องด�าเนินกิจกรรมต่างๆ ตามที่กฎหมายก�าหนดด้วย
ซึ่งเป็นหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญที่ก�าหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
1) สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคทางด้านแรงงานตามรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองสิทธิและเสรีภาพด้านแรงงานที่ส�าคัญไว้ 3 ประการ
กล่าวคือ ประการแรก ก�าหนดห้ามการเกณฑ์แรงงานเว้นแต่การจะเป็นไป
14 การปรับปรุงกฎหมายแรงงาน
ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่