Page 10 - kpiebook66013
P. 10
ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา โลกาภิวัตน์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
คือปัจจัยส�าคัญที่ท�าให้วิถีการด�าเนินชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงจากอดีตที่ผ่านมา
เป็นอย่างมาก และการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ย่อมส่งผลโดยตรงต่อวิธีการจ้าง
และการใช้แรงงาน อันท�าให้กฎเกณฑ์เกี่ยวกับแรงงานก็จ�าต้องเปลี่ยนแปลงไปให้ทัน
และเหมาะสมกับพฤติการณ์หรือวิถีชีวิตใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าวมานี้
ได้อย่างทันท่วงที
ด้วยเหตุนี้ การทราบพื้นฐานและบริบทแวดล้อมของกฎหมายแรงงานไทย
ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (1) ย่อมเป็นพื้นฐานส�าคัญและจ�าเป็น ในการที่จะน�ามาวิเคราะห์
ตามหลักนิติตรรกศาสตร์และหลักแห่งระเบียบวิธีวิจัยทางนิติศาสตร์ กล่าวคือ
เป็นการน�าเหตุที่เกิดขึ้นและมีอยู่จริงมาอธิบายเปรียบเทียบภายใต้หลักการ แนวคิด
และทฤษฎีทางนิติศาสตร์ประกอบบริบทอันมีมาเป็นเฉพาะในแต่ละเรื่องเกี่ยวกับ
การจ้างแรงงาน เพื่อท�าให้เห็นผลลัพธ์ (2) ซึ่งก็คือปัญหาของบทบัญญัติกฎหมาย
ตลอดจนแนวปฏิบัติเกี่ยวกับแรงงานไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และควรได้รับการพัฒนา
ปรับปรุงว่ามีประเด็นใด เรื่องใด และมีล�าดับก่อนหลังอย่างไร (3) เพื่อให้กฎหมาย
และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจ้างงานของประเทศไทยเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้อง
กับหลักการสากลและบริบททางเศรษฐกิจสังคมที่มีพลวัต (4) การวิเคราะห์
ข้อเท็จจริงและบริบทที่เป็นอยู่เพื่อก�าหนดปัญหาที่ควรได้รับการพัฒนาแก้ไข
นอกจากจะกระท�าได้โดยวิธีดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้นนี้แล้ว ก็อาจเกิดจากการน�า
ผลการศึกษาที่ปรากฏอยู่ในรูปแบบต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วยอีกทางหนึ่ง
10 การปรับปรุงกฎหมายแรงงาน
ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่