Page 9 - kpiebook66013
P. 9

(National Peace Keeping Council – NPKC) ใน พ.ศ. 2534 อันเนื่องมาจาก
               การที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจมีการยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลในเรื่องต่างๆ

                      9
               มากมาย  ถือเป็นอุปสรรคต่อการบริหารประเทศอย่างอิสระของเผด็จการทหาร
               อีกประการหนึ่ง


                      อย่างไรก็ดี กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการจ้างและการใช้แรงงานในส่วนที่เป็น
               การคุ้มครองปัจเจกบุคคลแรงงาน และกฎหมายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความมั่นคง

                                       10
               ทางสังคม (Social Security)  กลับได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อาจเป็น
               เพราะเนื้อหาของกฎหมายสองส่วนนี้ไม่ได้เป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบการปกครอง

               เฉกเช่นการแรงงานสัมพันธ์เท่าใดนัก ในทางตรงกันข้าม การก�าหนดสิทธิต่างๆ
               ด้านการแรงงานให้กับลูกจ้างคนงานกลับเป็นการเพิ่มคะแนนประชานิยมที่ผู้บริหาร

               ประเทศในช่วงเวลานั้นๆ จะได้รับจากประชาชน กระทั่งปัจจุบัน อาจกล่าวในภาพรวม
               ได้ว่าเนื้อหาของบทกฎหมายแรงงานไทยในส่วนที่ไม่ใช่การแรงงานสัมพันธ์นั้น

               ค่อนข้างสมบูรณ์ สอดคล้องกับหลักการสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักการที่ปรากฏ
               อยู่ในอนุสัญญาที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันแล้ว อย่างไรก็ดี ประเด็นปัญหาของ

               กฎหมายแรงงานที่ปรากฏ ส่วนใหญ่แล้วนั้นมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับประสิทธิภาพ
               ในการบังคับใช้กฎหมาย และอาจมีประเด็นที่เนื้อหาของบทกฎหมายแรงงาน

               ยังไม่สอดรับกับหลักการสากลอยู่บ้าง


               9   วิชัย โถสุวรรณจินดา, แยกรัฐวิสาหกิจออกจากกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ : จุดสิ้นสุด
               หรือจุดเริ่มต้นของขบวนการแรงงานไทย, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์หงสา, 2534).
               10  ตามแนวทางขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ อนุสัญญาฉบับที่ 102 ว่าด้วยความมั่นคง
               ทางสังคม (มาตรฐานขั้นต�่า) ค.ศ. 1952 (Social Security (Minimum Standards) Convention,
               1952 (No. 102)) ได้ก�าหนดสิทธิประโยชน์เพื่อความมั่นคงทางสังคมไว้ 9 ประการ ซึ่ง 8 ประการ
               ได้ปรากฏความเทียบเคียงได้กับเนื้อหาในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และ
               อีกประการปรากฏเนื้อหาเทียบเคียงได้กับเนื้อหาในพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
               อาจกล่าวได้ว่า กฎหมายเงินทดแทนและกฎหมายประกันสังคม จึงเป็นกฎหมาย
               ในกลุ่มความมั่นคงทางสังคมซึ่งไม่ใช่กฎหมายแรงงาน แต่เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์
               กับทั้งกฎหมายแรงงานและนายจ้างลูกจ้างอันเป็นตัวแปรส�าคัญในกฎหมายแรงงาน โปรดดู
               ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์, วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์ และฉัฏฐเมษ ภิรมย์พานิช, รายงานวิจัย
               ฉบับสมบูรณ์ เรื่อง บทบาทและหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้านการแรงงาน
               ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ, ทุนสนับสนุนการวิจัยจากส�านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
               ประจ�าปีงบประมาณ 2562, หน้า 9 – 13.


                                                                                  9
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14