Page 7 - kpiebook66013
P. 7
ควำมเบื้องต้น
การเข้าเป็นสมาชิกในองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International
1
Labour Organization - ILO) ของประเทศไทยเมื่อ ค.ศ. 1919 ถือเป็นจุดเริ่มต้น
ที่ประเทศไทยหรือประเทศสยามในเวลานั้น จ�าต้องพัฒนาปรับปรุงกฎเกณฑ์
และแนวปฏิบัติภายในเกี่ยวกับการใช้แรงงานให้สอดคล้องกับหลักการสากลที่ ILO
ได้ก�าหนดขึ้น แต่ด้วยหลากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นบริบทภายในประเทศ กล่าวคือ
ในเวลานั้นระบบการปกครองยังไม่เอื้อต่อการรับรองสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้แรงงาน
อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งบริบทภายนอกประเทศเอง กล่าวคือ ความไร้ประสิทธิภาพ
ขององค์การสันนิบาตชาติ (The League of Nations) เป็นองค์การกลางที่จัดตั้งขึ้น
จากมติร่วมกันของประชาชาติเพื่อด�าเนินกิจการต่างๆ ที่มีความเฉพาะทาง รวมถึง
เรื่องการแรงงานให้มีความเป็นสากลร่วมกัน ด้วยมุ่งหวังว่าการดังกล่าวจะธ�ารงไว้
ซึ่งสันติภาพถาวรของโลก ด้วยเหตุนี้เอง หลักการใช้แรงงานที่ ILO ได้ประกาศ
2
ออกไปนั้นจึงไม่ค่อยได้รับการยอมรับและน�าไปปฏิบัติอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม
ในช่วงเวลาดังกล่าวประเทศไทยก็เริ่มให้ความส�าคัญกับการก�าหนดกฎเกณฑ์
เกี่ยวกับการจ้างแรงงานอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ดังปรากฏว่ามีบันทึกความเห็น
ของที่ปรึกษาในการร่างกฎหมายเกี่ยวกับ เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติกรรมการ
3
ขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463 ถึง พ.ศ. 2464 แม้ว่าท้ายที่สุดแล้วกฎหมายฉบับนี้จะไม่ได้
มีการประกาศใช้ก็ตาม
1 ILO, ILO in Thailand, (online) https://www.ilo.org/asia/countries/thailand/lang--en/
index.htm, access 14 august 2022.
2 กระทรวงแรงงาน, ความเป็นมา, (ออนไลน์) https://zerocorruption.mol.go.th/ข้อมูลหน่วยงาน/
ประวัติความเป็นมา, เข้าถึงเมื่อ 12 สิงหาคม 2565.
3 คณะกรรมการกฤษฎีกา, จดหมายเหตุ, ม.- สคก.1/232 (30 กันยายน 2463 -
21 พฤษภาคม 2564).
7