Page 8 - kpiebook66013
P. 8
การเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 เป็นจุดเปลี่ยนส�าคัญ
ต่อการพัฒนากฎเกณฑ์การใช้แรงงานในประเทศไทย ดังปรากฏว่าหลังม่านการเมือง
ยุคใหม่มีการประกาศใช้กฎหมายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแรงงานที่ส�าคัญ 2 ฉบับ
4
คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยส�านักงานจัดหางาน พ.ศ. 2475 และพระราชบัญญัติ
5
ว่าด้วยส�านักจัดหางานประจ�าท้องถิ่น พ.ศ. 2475 อันเป็นผลของหลักการ
6
ข้อ 3 จากหลักการ 6 ประการของคณะราษฎรที่มุ่งหางานให้ราษฎรทุกคนท�า
จากนั้นกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้แรงงานก็ได้รับการพัฒนาเรื่อยมาบนพื้นฐานของ
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
ทว่า บทบาทของทหารและเผด็จการในทางการเมืองแต่ละช่วงสมัยของประชาธิปไตยไทย
ได้เข้ามามีผลต่อพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายแรงงานไทยอยู่
อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกฎหมายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแรงงานสัมพันธ์ ดังจะเห็น
ได้จากการจัดตั้ง “สหบาลกรรมกรแห่งประเทศไทย” ในสมัยที่จอมพลแปลก
7
พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อใช้เป็นเครื่องมือท�าให้เกิดการแตกแยก
ในหมู่กรรมกร โดยสหบาลฯ ได้รับความช่วยเหลือทั้งเงินสนับสนุนและการจัดหา
ที่ตั้งส�านักงานจากรัฐบาล ท้ายที่สุดแล้วสมาคมสหอาชีวะกรรมกรแห่งประเทศไทย
ซึ่งเป็นสมาคมที่ก่อตั้งขึ้นจากเจตนารมณ์ร่วมกันของผู้ใช้แรงงานอย่างแท้จริง
8
ก็ได้ล่มสลายลง ประการหนึ่ง และกรณีที่มีการแยกบทบัญญัติว่าด้วยการแรงงาน
รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ออกจากพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
ในช่วงหลังการรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ รสช.
4 พระราชบัญญัติว่าด้วยส�านักงานจัดหางาน พ.ศ. 2475, http://www.ratchakitcha.soc.
go.th/DATA/PDF/2475/A/315.PDF.
5 พระราชบัญญัติว่าด้วยส�านักงานจัดหางานประจ�าท้องถิ่น พ.ศ. 2475, http://www.ratch-
akitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/457.PDF.
6 ยุทธการยึดเมือง 24 มิถุนายน 2475, นิตยาสาร สารคดี, (ออนไลน์) https://www.
sarakadee.com/2017/04/15/24-มิถุนายน-2475/ เข้าถึงเมื่อ 12 สิงหาคม 2565.
7 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “สมาคมกรรมกรไทย” และ “สมาคมแรงงานเสรีแห่งประเทศไทย”
ตามล�าดับ โปรดดู การต่อสู้ของกรรมกรไทย ประวัติความเป็นมา และภารกิจบทบาท
ของสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.), (ออนไลน์) https://lupwa.pwa.co.th/
data/_uploaded/file/history_01092015110904.pdf, เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565
8 เพิ่งอ้าง.
8 การปรับปรุงกฎหมายแรงงาน
ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่