Page 17 - kpiebook66013
P. 17
การปฏิรูปด้านแรงงานตามแนวทางของคณะกรรมการปฏิรูปด้านวัฒนธรรม กีฬา
แรงงานและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ตั้งขึ้นเมื่อวันที่
30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 โดยให้ความส�าคัญกับการพัฒนาตลาดแรงงานกีฬา
การพัฒนาแรงงานของประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การพัฒนาเพื่อ
การเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อให้แรงงานสามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
มีสมรรถนะสูงขึ้น ตลอดจนการปฏิรูปแรงงานจ�าต้องแยกพิจารณาออกเป็น 3 กลุ่ม
ได้แก่ บุคลากรภาครัฐ แรงงาน เด็กและเยาวชน 21
3) แผนแม่บท “แผนแม่บท” เปรียบเสมือนวิธีในการด�าเนินการ
ให้ไปสู่ผลลัพธ์ที่รัฐธรรมนูญก�าหนดไว้ (ยุทธศาสตร์ชาติ) เป็นอีกหนึ่งตัวแปร
ที่การพัฒนากฎเกณฑ์การจ้างแรงงานควรตระหนักถึง ทั้งนี้ในบรรดาแผนแม่บท
22
28 ประเด็น ปรากฏแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวกับการแรงงานโดยตรง
23
จ�านวน 13 ประเด็นได้แก่ (1) ประเด็นความมั่นคง โดยเน้นที่การป้องกัน
และแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ และการบริหารจัดการคนเข้าเมืองซึ่งเกี่ยวกับ
เรื่องการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว (2) ประเด็นการต่างประเทศ โดยเกี่ยวกับ
การแรงงานในส่วนที่เป็นเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
เพื่อการพัฒนา ผ่านการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
ซึ่งเป็นตัวแปรส�าคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษนี้ (3) ประเด็น
ด้านการเกษตร โดยเน้นคุณภาพชีวิตของเกษตรกร เน้นการเกษตรอัจฉริยะ
และการพัฒนาระบบนิเวศการเกษตร (4) ประเด็นด้านอุตสาหกรรมและ
บริการแห่งอนาคต โดยเน้นการพัฒนาแรงงานและผลิตบุคลากรให้เหมาะสม
กับระบบนิเวศอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต (5) ประเด็นการท่องเที่ยว
21 ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์, วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์ และฉัฏฐเมษ ภิรมย์พานิช, รายงานวิจัย
ฉบับสมบูรณ์ เรื่อง บทบาทและหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้านการแรงงาน
ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ, อ้างแล้ว, หน้า 66.
22 ประกาศ ส�านักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การประกาศแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
(พ.ศ. 2561 - 2580).
23 ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์, วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์ และฉัฏฐเมษ ภิรมย์พานิช, รายงานวิจัย
ฉบับสมบูรณ์ เรื่อง บทบาทและหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้านการแรงงาน
ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ, อ้างแล้ว, หน้า 58 - 64.
17