Page 77 - kpiebook65066
P. 77
10
ผานแนวทางจัดการเรียนการสอนสําหรับบุคคลที่มีความความตองการจําเปนพิเศษ คือ (๑)
จัดรูปแบบการจัดการศึกษาสําหรับบุคคลที่มีความตองการจําเปนพิเศษซึ่งจะตองมีความยืดหยุน
หลากหลาย ทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษาทางเลือกใน
รูปแบบอื่น ๆ ครอบคลุมการศึกษาตั้งแตระดับปฐมวัย การศึกษาภาคบังคับ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
อาชีวศึกษา จนถึงระดับอุดมศึกษา โดยการจัดการศึกษานั้นจัดขึ้นเพื่อมุงเนนใหเกิดการพัฒนาตาม
ธรรมชาติ ความสามารถของบุคคลที่มีความจําเปนพิเศษเปนรายบุคคล (๒) สํารวจ คนหา คัดกรอง
หรือคัดสรรบุคคลที่มีความตองการจําเปนพิเศษโดยชุมชน สถานศึกษา องคกรปกครองสวนทองถิ่น
และหนวยงานที่เกี่ยวของ จัดทําเปนขอมูลสารสนเทศเพื่อชวยพัฒนาเปนรายบุคคลใหตรงกับความ
ตองการ และความสามารถของแตละบุคคล และเปดโอกาสใหภาคเอกชน สถาบันทางสังคม และ
องคกรปกครองสวนทองถิ่น ไดมีสวนรวมในการจัดทําหลักสูตรเฉพาะสําหรับผูเรียนที่มีความตองการ
จําเปนพิเศษ (๓) ผลิต สรรหา และพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา และบุคลากรวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวของ
ที่สามารถชวยเหลือ และใหการสนับสนุนบุคคลที่มีความจําเปนพิเศษในการเรียนได (๔) พัฒนาระบบ
ขอมูลสารสนเทศของบุคคลที่มีความตองการจําเปนพิเศษ เพื่อเปนฐานขอมูลในการบริหารจัดการ
ดานการศึกษาใหเปนปจจุบัน และทันสมัย มีการเชื่อมโยงฐานขอมูลของทุกหนวยงานใหเปนเอกภาพ
(๕) รัฐจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษา งบประมาณ อาคาร สถานที่ สื่อ เทคโนโลยีบริการ สิ่งอํานาย
ความสะดวก และความชวยเหลืออื่นใดทางการศึกษาแกสถานศึกษา เพื่อใหสามารถจัดเปนสิ่งอํานวย
ความสะดวกแกบุคคลที่มีความจําเปนพิเศษไดอยางเหมาะสม
(3.4.๓) การยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในพื้นที่หางไกล
หรือในสถานศึกษาที่ตองมีการยกระดับคุณภาพอยางเรงดวน โดยใหดําเนินการตามมาตรการความ
ชวยเหลือที่จําเปนตามความเหมาะสมของแตละสภาพ ไดแก การจัดสรรงบประมาณตามขอเท็จจริง
ของแตละโรงเรียนในแตละพื้นที่นอกเหนือไปจากเกณฑที่ใชสําหรับโรงเรียนโดยทั่วไป เพิ่มขีด
ความสามารถของครูใหสามารถสอนแบบคละชั้นเรียนได และขามสาขาวิชาได โดยอาศัยสภาพที่มี
นักเรียนนอย และครูมีความใกลชิดกับนักเรียนไดมาก ซึ่งเอื้อตอการสรางคุณภาพการเรียนรู ปรับปรุง
เนื้อหาโดยเนนเนื้อหาตามชั้นป จัดสิ่งแวดลอมโรงเรียนใหเอื้อตอการพัฒนาการเรียนรู และจัดดิจิทัล
แพลตฟอรมเพื่อการเรียนรูเพื่อใหครู และนักเรียนสามารถเขาถึงแหลงความรูไดตามความสนใจผาน
ทางโทรทัศนทางไกล หรืออินเทอรเน็ต นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงใหภาคเอกชนเขามามีสวนรวมในการ
พัฒนาผานการสนับสนุนทั้งเงินทุน และเทคโนโลยี และใหกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
เขามาชวยเหลือนักเรียนที่ขัดสนตามความจําเปน
(3.5) แผนการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙ (สํานักเลขาธิการ
สภาการศึกษา, ๒๕๖๐) ไดระบุประเด็นเรื่องความเสมอภาคทางการศึกษาในยุทธศาสตรที่ ๔ การ
สรางโอกาส ความเสมอภาค และความเทาเทียมทางการศึกษา โดยมีเปาหมาย และแนวทางการ
พัฒนา ๓ ประการ ไดแก (๑) ผูเรียนทุกคนไดรับโอกาส และความเสมอภาคในการเขาถึงการศึกษาที่มี
คุณภาพ โดยมีตัวชี้วัดที่สําคัญ ไดแกดัชนีความเสมอภาคของอัตราการเขาเรียนระดับการศึกษาขั้น
พื้นฐานตามฐานะทางเศรษฐกิจ และพื้นที่ลดลง ความแตกตางระหวางคะแนนเฉลี่ย ผลการทดสอบ
ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนระหวางพื้นที่/ภาคการศึกษาในวิชา
คณิตศาสตร และภาษาอังกฤษลดลง เปนตน (๒) การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาผานเทคโนโลยีดิจิทัล