Page 74 - kpiebook65066
P. 74

7






                       เทียม โดยมีปญหาความไมเสมอภาค เชน ผูเรียนที่มีความบกพรองทางการเรียนรูมีปญหาดานการ
                       อาน เขียน และการคํานวณ กลุมนักเรียนตาบอดยังขาดสื่อการเรียนรวมกับเด็กปกติในวิชาวาดเขียน
                                            (2.2) เกิดจากครอบครัว อาทิ ครอบครัวเปนตนทุนทางสังคมที่มีผลตอ
                       การศึกษาของเด็ก อาทิ เด็กในครอบครัวที่มีทั้งพอ และแม จะมีโอกาสไดเรียนตามเกณฑมากกวาเด็ก

                       จากครอบครัวที่ขาดพอแม หรือมีพอหรือแมเพียงคนเดียว พอ และแมที่มีวัฒนธรรม และความเชื่อใน
                       การดํารงชีวิต จะมีผลตอโอกาสทางการศึกษาของเด็ก โดยครอบครัวที่พอแมมีการศึกษา มักจะ
                       สงเสริม และลงทุนทางการศึกษาใหกับบุตรมากกวาครอบครัวของเด็ก และเยาวชนที่มีการศึกษานอย
                                            (2.๓) เกิดจากปจจัยคานิยมของชุมชนดานเพศภาวะ ทําใหขาดความเสมอ

                       ภาคของชาย และหญิง อาทิ เยาวชนหญิงที่ตั้งครรภตองถูกออกจากโรงเรียนกลางคัน เยาวชนที่ติด
                       สารเสพติด และมีปญหาทะเลาะวิวาทตองออกจากโรงเรียน ขาดระบบประสานงานที่ดี และไมถูก
                       สงไปบําบัดในหนวยงานที่ประสิทธิภาพ
                                            (2.4) เกิดจากสถานศึกษา อาทิ โรงเรียนขาดครูที่มีความรู ความเขาใจ

                       และทักษะการจัดการศึกษาพิเศษ ขาดครูเฉพาะทางวิชาเอกทางคณิตศาสตร และภาษาไทย ขาด
                       เทคนิคการสอน และอุปกรณ โรงเรียนเฉพาะทางของเด็กพิเศษอยูไกลบาน สภาพแวดลอมในโรงเรียน
                       ไมเหมาะ และจํานวนผูเรียนมาก โรงเรียนที่มีเด็กพิเศษจะถูกลดเกณฑการสอบคะแนน O-Net จึงทํา

                       ใหโรงเรียนละเลยการยืนยันการวินิจฉัยเด็กใหถูกตอง และละเลยตอการประสานใหครอบครัวดูแล
                       นักเรียนใหไดรับการศึกษาที่เทาเทียม
                                            (2.5) เกิดจากปจจัยทางเศรษฐกิจ และบริบททางสังคม ไดแกฐานะทาง
                       สังคม และเศรษฐกิจของครอบครัวดานเศรษฐกิจ ครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ และสังคมดี จะ
                       สามารถสงเสริมสนับสนุนใหบุตรหลานไดรับการศึกษาที่ดีไดมากกวา พอแมที่ฐานะทางเศรษฐกิจไมดี

                       จะขาดแคลนทุนทรัพยในการศึกษา สภาพปญหาทางการเงินในครัวเรือน ทําใหเด็กตองออกเรียน
                       กลางคัน หรืออาจตองเสียสละใหพี่นองคนใดคนหนึ่งไดศึกษาเลาเรียนแทน ทําใหบางครอบครัวไม
                       สามารถสนับสนุนใหบุตรหลานเรียนจนจบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานไดดวย

                                            (2.6) เกิดจากปจจัยอันเนื่องมาจากภูมิลําเนา หรือพื้นที่ โดยสภาพแวดลอม
                       และภูมิลําเนาของผูเรียนไดสงผลใหเกิดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษาของผูเรียน อาทิ เด็ก และ
                       เยาวชนในเขตเมืองมีโอกาสในการเขาถึงการศึกษาไดงายกวาเขตชนบท ทั้งในดานระยะทาง และ
                       คุณภาพของโรงเรียน เด็ก และเยาวชนที่อยูในสภาพแวดลอม และที่อยูอาศัยแตกตางกัน จะสงผล

                       โดยตรงตอความกระตือรือรน และความสนใจในการศึกษา ซึ่งเด็กในเขตชุมชนแออัด หรืออยูในแหลง
                       ที่มีปจจัยยั่วยุ หรืออยูในพื้นที่ทุรกันดาร ก็อาจหันเหจากการศึกษาไดโดยงาย
                                            (2.7) เกิดจากปจจัยดานนโยบาย ไดแก (1) ขาดการประสานงานรวมมือ
                       กับหนวยงานตาง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชนในการจัดการศึกษาเพื่อเด็กดอยโอกาส เนื่องจากปริมาณ

                       และความซ้ําซอนของพันธกิจที่หนวยงานตาง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชนตางแยกกันรับผิดชอบดูแล
                       ปญหาขาดการบูรณาการที่ดีตั้งแตระดับของการสงตอขอมูลเด็กดอยโอกาสทางการศึกษา การรวม
                       การดําเนินการทั้งดานการจัดการเรียนการสอน สวัสดิการสังคม และบริการสาธารณะที่เกี่ยวของ (2)
                       การจัดสรรงบประมาณในการจัดการศึกษาสําหรับเด็กดอยโอกาสทางการศึกษา การจัดสรร

                       งบประมาณยังไมเปนไปตามความตองการของกลุมเปาหมาย (3) สังคมไทยยังขาดความตระหนัก
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79