Page 70 - kpiebook65066
P. 70

3






                              การขับเคลื่อนใหองคกรปกครองสวนทองถิ่นใหดําเนินโครงการเสริมสรางความเสมอภาคทาง
                       การศึกษาในพื้นที่ครั้งนี้ จึงเปนกลไกหนึ่งที่จะชวยแกไขปญหา หรือลดชองวางความเหลื่อมล้ําทางดาน
                       การศึกษาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ขององคกรปกครองสวนทองถิ่นเอง ในฐานะที่องคกรปกครองสวนทองถิ่น
                       เปนหุนสวนสําคัญของรัฐในการสรางความเสมอภาคทางสังคมในพื้นที่ของตน รวมทั้งจะเปนประโยชน

                       ตอเด็ก และเยาวชนในทองถิ่น ที่จะไดมีโอกาสเขาถึงการศึกษา หรือไดรับการศึกษาที่มีคุณภาพมาก
                       ขึ้นตอไป

                       1.2 วัตถุประสงค


                              1.2.1 เพื่อติดตามผลการดําเนินงานขององคกรปกครองสวนทองถิ่น และเพื่อถอดบทเรียน
                       องคกรปกครองสวนทองถิ่นที่เขารวมโครงการวิจัยขับเคลื่อนองคกรปกครองสวนทองถิ่นใหเปนกลไก
                       ลดความเหลื่อมล้ําทางดานการศึกษา ระยะที่ 1

                              1.2.2 เพื่อเสริมสราง และขับเคลื่อนใหองคกรปกครองสวนทองถิ่นแหงใหม ใหดําเนิน
                       โครงการเสริมสรางความเสมอภาคทางการศึกษาในพื้นที่


                       1.3 ทบทวนวรรณกรรม

                              วรรณกรรมที่ทบทวนครั้งนี้ไดแก แนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวของกับ (1) แนวคิดการ
                       ติดตามโครงการ (2) แนวคิดการถอดบทเรียน และ (3) แนวคิดความเหลื่อมล้ําทางดานการศึกษา
                       พบวา


                              1.3.1 แนวคิดการติดตามโครงการ
                                     การติดตามโครงการ นับเปนองคประกอบพื้นฐานที่สําคัญองคประกอบหนึ่งในสาม

                       องคประกอบของการดําเนินโครงการ ไดแก การวางแผน (Planning) การดําเนินงาน (Implement)
                       และการติดตาม และประเมินผล (Monitoring and Evaluation) โดย
                                     1) ความหมาย การติดตามโครงการ หมายถึง  กระบวนการเก็บรวบรวมขอมูล
                       เกี่ยวกับปจจัยนําเขา (input) การดําเนินงาน (process) และผลการดําเนินงาน (output) เกี่ยวกับ

                       โครงการ เพื่อเปนขอมูลยอนกลับสําหรับการกํากับ ทบทวน และแกปญหาขณะดําเนินโครงการ หรือ
                       อาจจะมีความหมายสั้น ๆ คือ ระบบการเก็บรวบรวมขอมูลของการดําเนินงาน เพื่อเปนขอมูล
                       ยอนกลับ (ศูนยทดสอบ และประเมินเพื่อพัฒนาการศึกษาและวิชาชีพ, 2558, น. 3-4)
                                     การติดตามจึงเปนกระบวนการบริหารงานเพื่อตรวจสอบการดําเนินงาน ที่จะชวยให

                       ระบบการวางแผน และการบริหารงานมีประสิทธิภาพ และบรรลุเปาประสงคตามที่กําหนดไว โดยการ
                       รวบรวมขอมูลตามระบบงาน เชน เปาหมาย วิธีการ ผลการปฏิบัติงาน แลวนํามาวิเคราะหเพื่อ
                       นําไปใชประโยชนในการปรับปรุงแกไข และเพื่อใหไดผลงานเปนไปตามเปาประสงคที่กําหนดไว (กลุม
                       งานติดตาม และประเมินผล สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 2550, น. ๓)
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75