Page 68 - kpiebook65066
P. 68

1






                                                            บทที่ 1
                                                             บทนํา



                       1.1 ที่มาและความสําคัญ


                              ประเทศไทยเปนประเทศที่มีความเหลื่อมล้ําทางรายไดอยูในอันดับ 3 ของโลก และในชวง 5
                       ปที่ผานมามีการรายงานวา คนรวยที่สุดซึ่งมีเพียงรอยละ 1 ของประเทศ แตถือครองทรัพยสิน
                       มากกวารอยละ 58 ของประเทศ ในขณะที่กลุมคนที่ยากจนที่สุดรอยละ 40 มีทรัพยสินรวมกันเพียง
                       รอยละ 1.9 จากทั้งหมด ปญหาดังกลาวไดสงผลกระทบไปสูความเหลื่อมล้ําดานอื่น ๆ ในสังคม หนึ่ง

                       ในนั้นก็คือ ความเหลื่อมล้ําดานการศึกษา
                              จากรายงานเรื่องความไมเสมอภาคทางการศึกษาของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูป
                       (ภาวรรณ ธนาเลิศสมบูรณ, 2564) พบวา (1) ประเทศไทยมีเด็กเยาวชนวัยเรียนในระดับการศึกษา
                       ขั้นพื้นฐาน (อายุ 3-17 ป) นอกระบบการศึกษามากกวา 670,000 คนทั่วประเทศ ดวยเพราะ

                       ปญหาที่มาจากความยากจน ความดอยโอกาสทางสังคม ความพิการ และปญหาครอบครัว (2) ระบบ
                       การศึกษาไทยจัดสรรเงินอุดหนุนเพื่อนักเรียนยากจนเพียงรอยละ 0.5 ของงบประมาณดานการศึกษา
                       โดยนักเรียนที่ยากจนไดรับเงินอุดหนุนเฉลี่ยเพียงคนละ 5 บาทตอคนตอวัน โดยเฉพาะเมื่อระบบ

                       การศึกษาไทยขาดเครื่องมือในการคัดกรองความยากจนที่มีประสิทธิภาพ ทําใหเด็กเยาวชนยากจนใน
                       ระบบการศึกษาซึ่งสมัครรับเงินอุดหนุนปจจัยพื้นฐานอีกกวา 4 ลานคนไมไดรับเงินอุดหนุน (3) กลุม
                       เด็กยากจนยังมีความเหลื่อมล้ําดานโอกาสในการสําเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาสูงถึง 7
                       เทา โดยเด็กจากครัวเรือนที่มีรายไดต่ําที่สุดรอยละ 20 ของประเทศมีโอกาสศึกษาตอระดับอุดมศึกษา
                       โดยเฉลี่ยเพียงรอยละ 5 ของประชากรในกลุมรายไดเดียวกัน (4) จากการประเมินของอดีตผูบริหาร

                       ระดับสูงขององคการยูเนสโก ความเหลื่อมล้ําดานการศึกษาดังกลาวไดสรางความเสียหายแกระบบ
                       เศรษฐกิจไทยคิดเปนเงินมูลคามากถึง 330,000 ลานบาทตอป หรือเทากับรอยละ 3 ของผลิตภัณฑ
                       มวลรวมประชาชาติของไทยในแตละป และ (5) ความเหลื่อมล้ําทางการศึกษายังทําใหในปจจุบัน

                       ประเทศไทยมีกําลังแรงงานที่มีทักษะขั้นสูง (High-skilled Labor) ต่ํากวารอยละ 20 ขณะที่การ
                       พัฒนาประเทศออกจากกับดักรายไดปานกลาง (Middle Income Trap) ตามยุทธศาสตรชาติ 20 ป
                       ของรัฐบาล จําเปนตองมีกําลังแรงงานที่มีทักษะ หรือมีทักษะขั้นสูง ผูสําเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือ

                       การศึกษาระดับอุดมศึกษามากกวารอยละ 50 ของกําลังแรงงานทั้งหมดในประเทศ
                              กอปรกับแผนยุทธศาสตรชาติ 20 ป (พ.ศ. 2561 - 1580) (ราชกิจจานุเบกษา, 2561)
                       และแผนแมบทภายใตยุทธศาสตรชาติประเด็น (17) ความเสมอภาค และหลักประกันทางสังคม
                       (สํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแหงชาติ, 2564) ไดใหความสําคัญกับการสราง
                       หลักประกันทางสังคมที่ครอบคลุม และเหมาะสมกับคนทุกชวงวัย ทุกเพศสภาพ และทุกกลุม

                       โดยเฉพาะกลุมดอยโอกาส และกลุมเปราะบาง เพื่อเปนการปดชองวางการคุมครองทางสังคมอื่น ๆ
                       เพื่อสรางความเปนธรรม และลดความเหลื่อมล้ําในทุกมิติ รวมทั้งการปองกันปญหาความเหลื่อมล้ํา
                       และความไมเสมอภาคที่คาดวาจะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นจากกระแสโลกาภิวัตน และการ
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73