Page 464 - kpiebook65063
P. 464

การแก้ไขปัญหาภัยน้ำท่วมและภัยแล้ง


                     โครงการธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียงเป็นกระบวนการเร่งน้ำให้ลงสู่ ชั้นใต้ดินให้เร็วขึ้น
               ด้วยการนำน้ำบนดินไปแทนที่อากาศ กระบวนการเก็บน้ำลงใต้ดินชั้นตื้น ด้วยบ่อประดิษฐ์
               เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขัง และรักษาความชื้นให้กับชั้นหน้าดิน ป้องกันปัญหาการขาดน้ำในช่วง

               หน้าแล้งได้ อีกทั้งการเก็บกักน้ำดังกล่าวยังช่วยแก้ไขปัญหาให้ชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนจาก
               ปัญหาน้ำท่วมขัง จัดการน้ำฝนที่ตกจำนวนมากตามแหล่งน้ำให้ไหลลงสู่บ่อประดิษฐ์ระดับชุมชน

               ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่มีน้ำท่วมขังในชุมชน สามารถลดการปนเปื้อนจากการไหลของน้ำฝน       ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
               แบบทิ้งเปล่า ในพื้นที่อื่น ๆ ในช่วงเวลาฝนตก ทำให้มีปริมาณเพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ในด้าน
               ต่าง ๆ ส่งผลให้พื้นที่ของโครงการมีน้ำเพิ่มขึ้นสูง เต็มตลิ่งทั้งลำห้วย หนอง บึง เขื่อน แม่น้ำ

               น้ำใต้ดินที่เคยมีลักษณะเค็มเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำจืด มีระบบนิเวศที่ดีขึ้น ได้พันธุ์ไม้และพันธุ์สัตว์
               ที่เคยอาศัยอยู่ภายในพื้นที่คืนกลับมาเป็นทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน


                            แผนภาพแสดงรายงานจากแอปพลิเคชันสำหรับจัดการน้ำผิวดิน





































               ที่มา : ฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร  กรมส่งเสริมการเกษตร (2564)                            ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19










                                                                              สถาบันพระปกเกล้า
   459   460   461   462   463   464   465   466   467   468   469