Page 467 - kpiebook65063
P. 467
ความสำเร็จด้านการลดความเหลื่อมล้ำขององค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขามเกิดขึ้น
ในหลายมิติ ได้แก่ มิติสังคม ก่อให้เกิดการบูรณาการมีส่วนร่วมของทุกชุมชน โดยชุมชน ช่วยเหลือ
การทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาซ้ำซากในพื้นที่อย่างยั่งยืนเกิดความเข้าใจใน ความปัญหา
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 มิติเศรษฐกิจ เกิดความมั่นคงในการประกอบอาชีพ ผลิตผลทางการเกษตร เพิ่มขึ้น เกษตรกร
ที่เกิดขึ้นและใช้วัตกรรมที่สามารถทำได้ต้นทุนต่ำ ป้องกันปัญหาความขัดแย้ง ระหว่างชุมชน
มีรายได้เพิ่มมากขึ้น กระตุ้นเศรษฐกิจของชุมชนในระดับตำบล ทุกชนชน มีน้ำใช้เพื่อการอุปโภค
และบริโภคที่เพียงพอสำหรับการเกษตรและในชีวิตประจำวันและ ที่สำคัญมีการเก็บสะสมน้ำไว้ใช้
ในยามจำเป็น มิติสิ่งแวดล้อม เมื่อปริมาณน้ำใต้ดินและน้ำผิวดินมีมากขึ้นทำให้เกิดความชุ่มชื้น
ลดความแห้งแล้ง มิติของความยั่งยืน เป็นการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพเป็นระบบคืน
ความสมดุลให้ระบบนิเวศน์ สร้างความอุดมสมบูรณ์ ให้กับทรัพยากรธรรมชาติของตำบลเก่าขาม
การขยายผลและต่อยอดของโครงการ
การจัดตั้งศูนย์ติดตามประเมินผลพัฒนาปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ ด้วยการนำเทคโนโลยี
การตรวจวัด ระดับและคุณภาพน้ำ BOD และ COD มาใช้ร่วมกับฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนา
องค์ความรู้เชิงประจักษ์ มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อื่น ๆ ที่สนใจทำธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง จนปัจจุบันได้รับการยอมรับและเกิดผลสัมฤทธิ์
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมขัง ภัยแล้งได้อย่างชัดเจนเป็นต้นแบบในระดับประเทศและมีหน่วยงาน
ที่นำไปขยายผลอีกหลายหน่วยงาน
การขยายผลถ่ายทอดองค์ความรู้ตำบลต้นแบบของประเทศไทย ระบบ SGB “ธนาคาร
น้ำใต้ดินแบบพอเพียง” ได้แหล่งถ่ายทอดความรู้จากปี พ.ศ.2559 ถึงปัจจุบัน มีผู้มาเยือน
ประมาณ 30,376 คน และได้ถ่ายทอดความรู้ขยายผลเป็นต้นแบบตามภาคต่าง ๆ ดังนี้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อบต.ยางขี้นก จ.อุบลราชธานี และ อบต.บ้านผึ้ง จ.นครพนม
ภาคเหนือ อบต.วังหามแห จ.กำแพงเพชร
ภาคกลาง เทศบาลตำบลหนองมะโมง จ.ชัยนาท
ภาคใต้ เทศบาลตำบลเจ๊ะบิลัง จ.สตูล
องค์กร/มูลนิธิ มูลนิธิเพื่อสังคมไทย รางวัลไทย
และสถาบันพัฒนาศักยภาพท้องถิ่น
สถาบันพระปกเกล้า