Page 463 - kpiebook65063
P. 463
กระบวนการจัดการทรัพยากรในรูปแบบต่างๆ ทำให้ชุมชนประสบความสำเร็จในการจัดการ
โครงการธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง การรวมกลุ่มของชาวบ้านในชุมชนจะคอยชักชวนกัน
เข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการต่าง ๆ ในการจัดการโครงการธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 ทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงาน
ให้ยั่งยืนยาวนาน
ทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินโครงการธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียงแบบระบบเปิด
จะใช้แผนที่ทหารตามาตราส่วน 1:50,000 (Topographic Map) เพื่อหาความลาดเอียง ระดับ
ความสูง เพื่อกำหนดพิกัดวางระบบเติมน้ำใต้ดิน และเมื่อได้ตำแหน่งก็ใช้รถขุดดินในการขุด
เพื่อสร้างแหล่งเก็บน้ำให้มีความลึกถึงชั้นหินอุ้มน้ำ (Aquifer)
ทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินโครงการธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียงแบบระบบปิดจะเป็น
แบบบ่อประดิษฐ์ครัวเรือน ซึ่งได้แก่ หินกรวด ผ้ามุ้ง ถ่าน ก้อนอีเอ็ม หินลิบแลบหรือเศษอิฐขนาด
15-20 เซนติเมตร และท่อ PVC 2 เป็นต้น
ทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินโครงการธนาคารน้ำใต้ดินในส่วนของบุคลากรที่ใช้ใน
การดำเนินงานส่วนใหญ่จะเป็นบุคลากรในตำบลเก่าขามร่วมมือกัน ไม่ว่าจะบุคลากรข้าราชการ
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
หรือประชาชนในตำบลเก่าขาม (องค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขาม, 2561)
นอกจากนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขามยังนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ยังเข้ามามีบทบาท
ในการดำเนินงานของโครงการ คือ เครื่องวัดความต้านทานน้ำใต้ดินเพื่อตรวจศักยภาพการไหล
ของน้ำใต้ดิน เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียงที่ถูกพัฒนามาเป็นเฉพาะ
สำหรับการนำมาใช้ในการพัฒนาระบบน้ำใช้ในการตรวจวัด วิเคราะห์ ประมวลผล และออก
รายงานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องหรือแจ้งสถานการณ์ให้ทราบในประเด็นที่สนใจทั้งเชิงปริมาณ
และคุณภาพ
ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น
จากการศึกษาผลการดำเนินโครงการธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง (Sufficiency
Groundwater Bank) องค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขามประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหา
ภัยน้ำท่วม ภัยแล้ง แก้ไขปัญหาน้ำเพื่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม และปัญหาความเหลื่อมล้ำ
ในชุมชนได้สำเร็จด้วยนวัตกรรมธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง สามารถทำให้พื้นที่ตำบลเก่าขาม
มีแก้มลิงใต้ดิน เก็บน้ำได้อย่างมหาศาล ทำให้ประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขาม
มีน้ำใช้อุปโภคบริโภคและทำการเกษตรอย่างเหมาะสมและเท่าเทียม
2 สถาบันพระปกเกล้า