Page 462 - kpiebook65063
P. 462
3. วิเคราะห์โครงการหลังการสร้างระบบ เรื่องการตรวจสอบคุณสมบัติน้ำ การดูแลรักษา
การเผยแพร่ การถ่ายทอดและต่อยอดองค์ความรู้ที่ถูกต้องสู่สังคม เพราะ “น้ำ” แนวนโยบาย
การสร้างความมั่นคงทางอาหาร การรวมกลุ่มปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ เน้น ความปลอดภัยของ
ผู้ผลิต ผู้บริโภคผลักดันที่เกิดจากการบูรณาการร่วมกันระหว่างภาค ประชาชนและหน่วยงาน
ภาครัฐ
บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคส่วนอื่น ๆ ในการการดำเนินงาน
โครงการธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง ขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ต้องมีการร่วมมือกัน ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
ในการวางนโยบายการบริหารจัดการให้สอดคล้อง เชื่อมโยง การบริหารจัดการน้ำในทุกมิติ ตั้งแต่
บริบทพื้นที่ ปริมาณน้ำบนดิน ปริมาณน้ำใต้ดิน คุณลักษณะของชั้นดินต่าง ๆ รวมไปถึงปัญหา
ที่เกิดขึ้น ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในส่วนของเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจ ตระหนักกับ
สถานการณ์ภัยแล้ง รวมไปถึงน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันของชุมชนด้วยตัวของชุมชนเอง
จากระบบการบริหารจัดการน้ำ โดยระบบธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง ผลกระทบที่เกิดขึ้น
ด้านสิ่งแวดล้อม เขตที่ดิน หรือปัญหาอื่น ๆ ผ่านขบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ยังเป็นการวาง
ระบบหรือขั้นตอนกระบวนการบริหารจัดการน้ำตามบริบทของชุมชนนั้น ๆ ให้สอดคล้อง
ตามความต้องการของคนในชุมชน เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพแหล่งน้ำที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตนเอง
ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามความต้องการของชุมชน
โดยนายชาตรี๊ ศรีวิชาฐา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขามได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ
บทบาทขององค์กรปกครองท้องถิ่นและภาคส่วนอื่น ๆ ว่า “ได้นำแนวคิดการเติมน้ำฝนลงเก็บไว้
ใต้ดินจากราชบุรีมาปรับใช้กับตำบลเก่าขามและได้พัฒนามาเป็นธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง
เป็นนวัตกรรมการเติมน้ำฝนจากหลังคาบ้านสู่ชั้นใต้ดิน โดยใช้กลไกการแทนที่อากาศดินของน้ำ
อย่างมีประสิทธิภาพและได้พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้เพื่อให้ประชาชนปรับเปลี่ยนแนวคิด
เรื่องการใช้น้ำและเพื่อสร้างพื้นฐานการเรียนรู้ โดยใช้พื้นที่และงบประมาณส่วนตัวนำร่องเป็นต้น ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
แบบเสริมสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจให้กับบุคลากรในหน่วยงานการดำเนินการได้เกิด
ประสิทธิภาพ ซึ่งขยายผลไปยังประชาชนและผู้นำชุมชน โดยทุกคนสามารถเข้าถึงโครงการ
ธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียงนี้ได้อย่างเรียบง่ายด้วยตนเอง ตอบโจทย์ปัญหาน้ำท่วมขังและ
ภัยแล้งอย่างได้ผลร้อยละ 100 จนปัจจุบันทำให้เกิดการยอมรับและเกิดผลสัมฤทธิ์ในหลายพื้นที่
สามารถมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี เป็นต้นแบบในการดำเนินงานการเผยแพร่ให้กับหลายพื้นที่ และองค์กร
ต่าง ๆ จนไปถึงระดับประเทศ สู่ระดับสากล” บทบาทของประชาชน เป็นการมีส่วนร่วมกันของ
ประชาชนในตำบลเก่าขาม ซึ่งเป็นชุมชนที่มีศักยภาพในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติผ่านระบบ
ความคิด ความเชื่อ ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยแสดงออกมาผ่านวิถีการดำรงชีวิตของชาวบ้านและ
สถาบันพระปกเกล้า 1