Page 458 - kpiebook65063
P. 458
แนวทางเดิมการแก้ไขปัญหาฝนตกแล้วเกิดน้ำท่วมขัง เป็นการระบายน้ำฝนจากที่สูง
ไปท่วมพื้นที่ราบ เกิดการท่วมขังในพื้นที่สวน ไร่นา ทุก ๆ ปี บริบทใหม่คือการส่งน้ำฝนให้เก็บไว้
ในดิน ผ่านธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดในพื้นที่ของตนเอง ใช้ใต้ดินเป็นแหล่งกักเก็บน้ำแห่งใหม่
ผ่านระบบ SGB การบริหารจัดการที่สามารถเอาน้ำกลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้งในการอุปโภค
บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนวิธีการการเลือกพื้นที่ทำธนาคารน้ำใต้ดินแบบเปิดบริบทเมืองในสภาพปัจจุบันชุมชน
เกิดความแออัด การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนด้วยการถมดินเพื่อหนีน้ำท่วม ทำให้ชาวบ้าน ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่ำกว่าได้รับความเดือดร้อนทั่วประเทศ ธนาคารน้ำใต้ดินสามารถทำในขนาด
ครอบครัว ตามพื้นที่ไร่นา ทำแบบเรียบง่ายด้วยตนเอง ใช้งบประมาณน้อย เหมาะสำหรับพื้นที่
ดังนี้
พื้นที่ประสบกับปัญหาน้ำท่วมขัง ในชุมชนเมืองชนบทที่เกิดความแออัดและมีปัญหาน้ำเสีย
ถูกระบายลงในร่องระบายน้ำหมู่บ้านและแหล่งน้ำสาธารณะ เป็นการทำให้น้ำจากพื้นที่ต่าง ๆ
ไปรวมตัวกับน้ำในคลอง ลำห้วยหรือแหล่งน้ำสาธารณะในชุมชนเพียงอย่างเดียว
พื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ทางการเกษตรแต่ละปีที่มีฝนตก 5-6 เดือน ในพื้นที่ทุก
1 ไร่ จะมีน้ำฝนในพื้นที่ประมาณ 2,500 ลูกบาศก์เมตร หลังดำเนินการระบบ SGB สามารถ
เก็บน้ำในฤดูฝนลงใต้ดินทำให้เกิดความชุ่มชื้น สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้
การวางตำแหน่งบ่อธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง Sufficiency Groundwater Bank
(SGB) ที่เหมาะสมตามหลักวิทยาศาสตร์ เพื่อการเก็บน้ำฝนที่ผิวดินให้ไหลลงไปสู่ชั้นใต้ดินบริเวณ
ชั้น Zone of Aeration and Saturation เป็นบ่อประดิษฐ์ด้วยหลักการทางธรรมชาติ การสร้าง
ความสัมพันธ์ของน้ำบนดินลงสู่ชั้นใต้ดิน ระหว่างน้ำ อากาศ และดิน โดยการทำให้อากาศออก
จากดินได้และน้ำจะลงไปแทนที่อากาศในชั้นใต้ดินที่ดินชั้นบนที่ความลึกอยู่เหนือดินเหนียว ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
ส่งผลให้เกิดความชุ่มชื้นกับผิวดินด้านบนทำให้สามารถปลูกพืชทางการเกษตรได้
ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด
ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด หมายถึง การเติมน้ำฝนลงใต้ดินโดยใช้ผิวดินที่เปลือกโลก
ชั้นผิวดิน (Water Table) เป็นชั้นที่มีอากาศแทรกในชั้นหิน (Zone of Aeration) สามารถ
เติมน้ำลงไปใต้ดินได้ตลอดเวลา ทุกครั้งที่มีฝนตกน้ำจะซึมลงใต้ดินในบ่อประดิษฐ์ที่ออกแบบ
มาเพื่อเร่งกระบวนการผันน้ำลงดิน จะทำให้น้ำที่เกิดจากการเก็บจะไม่ล้นบ่อ เพราะน้ำใต้ดินในชั้น
นี้ได้เชื่อมต่อธารน้ำกับหนอง บึง ลำห้วย ลำน้ำ แม่น้ำ และไหลออกสู่ทะเลตามธรรชาติ นวัตกรรม
นี้สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้อย่างทันท่วงทีเพียงชั่วข้ามคืนไม่ต้องรอระบาย เนื่องจากบริบท
สถาบันพระปกเกล้า