Page 454 - kpiebook65063
P. 454

ชนเผ่ามีวิสัยทัศน์ที่เน้นการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายอย่างต่อเนื่องทำให้ในการแก้ไขปัญหา

               เรื่องน้ำจึงได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

                     ความท้าทายที่สำคัญในการดำเนินโครงการคือ (1) การขอพื้นที่ในการจัดการฝายและ

               การทำความเข้าใจกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากพื้นที่การสร้างฝายเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขต
               ความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ ซึ่งจะต้องมีการขออนุญาตในการดำเนินการต่าง ๆ ประกอบกับ

               การสร้างความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้น้ำเดิม เพราะผู้ที่เกี่ยวข้องมีความกังวลว่าจะส่ง
               ผลกระทบ ทำให้มีการทำความเข้าใจกับทุกภาคส่วน และเมื่อจัดทำฝายสำเร็จทำให้เกิด            ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
               ความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าและเกิดธนาคารน้ำใต้ดินซึ่งผลด้านบวกกับทุกภาคส่วนทำให้

               ความท้าทายหรือปัญหาอุปสรรคที่พบสามารถแก้ไขได้สำเร็จ (2) ความแข็งแรงคงทนของฝาย
               ซึ่งในปี 2562 เป็นการสร้างฝายที่ยังไม่มีการหนุนเสริมจากภาคส่วนวิชาการทำให้ได้ปริมาณน้ำ

               ไม่คงที่และชำรุดง่าย แต่ปัญหาดังกล่าวก็หมดไปในปี 2563 เนื่องจากมีมหาวิทยาราชภัฏเชียงราย
               เข้ามาหนุนเสริมในองค์ความรู้ด้านการจัดทำฝายมีความแข็งแรงและเกิดประโยชน์สูงสุด


                                                                                                      ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19














































                                                                              สถาบันพระปกเกล้า
   449   450   451   452   453   454   455   456   457   458   459