Page 457 - kpiebook65063
P. 457

ความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐที่ทุกคนสามารถเข้าถึงการใช้นวัตกรรมอย่างทั่วถึง เข้าใจ และ

           เข้าถึงแนวทางในการพัฒนาและการดำเนินงานและสามารถทำเองได้ เกิดผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์

                 การทำโครงการระบบธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่น
     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19   น้ำหลาก โดยสนับสนุนให้ชุมชนท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดเศรษฐกิจชุมชนที่เข้มแข็ง
           มีน้ำสะอาด เพื่ออุปโภค บริโภค ทำการเกษตรที่เพียงพอ ป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในฤดู



           รวมถึงแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ซึ่งเป้าหมายหลักของการพัฒนาระบบธนาคารน้ำใต้ดิน

           แบบพอเพียงนั้น คือ การป้องกัน บรรเทา แก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำขัง ภัยแล้ง ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำ
           ทุก ๆ ปี นับวันยิ่งรุนแรงขึ้นเนื่องจากสภาพปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศของโลก
           ผลประโยชน์ทางตรงที่ได้รับคือประชาชนมีน้ำเพียงพอสำหรับอุปโภค บริโภค สำหรับประกอบ

           อาชีพ สามารถลดความเสียหายจากน้ำท่วม-ภัยแล้ง ส่งผลให้เกิดความมั่นคงเกี่ยวกับการดำรงชีพ
           มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

                 โครงการระบบธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียงนี้ สามารถแบ่งระบบได้เป็น 2 ระบบ คือ

           ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด และธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด

           ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
                 ธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิด หมายถึง การขุดบ่อเพื่อสร้างแหล่งกักเก็บน้ำในระบบธรรมชาติ

           ให้ได้มีความลึกถึงชั้นหินอุ้มน้ำ (Aquifer) โดยขนาดรูปร่างของบ่อต้องออกแบบเปลี่ยนแปลง
           ไปตามสภาพบริบทตามสภาพภูมิศาสตร์ของพื้นที่ โดยวางตำแหน่งบ่อให้เป็นกลุ่มและเครือข่าย
           จะวางในร่องน้ำและพื้นที่รับน้ำที่ราบลุ่ม ต้องขุดให้เป็นกลุ่ม ๆ ละ 3-4 บ่อ ระยะห่างประมาณ

           1,500 เมตร เพื่อให้เป็นบ่อน้ำที่ใช้ตอบโจทย์การบริหารจัดการปัญหาบ่อน้ำบาดาลที่แห้ง
           เป็นการเติมน้ำลงใต้ดินและเพิ่มปริมาณน้ำใต้ดินให้เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค และใช้ทำ

           การเกษตรในฤดูแล้งสามารถนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (องค์การบริหาร
           ส่วนตำบลเก่าขาม, 2561)

                 การออกแบบและวางตำแหน่งบ่อจำเป็นต้องทำให้เกิดรูปแบบที่มีความเชื่อมโยงกัน

           ตามบริบทของพื้นที่ การขุดให้ลึกถึงหินชั้นอุ้มน้ำ (Aquifer) มีวิธีการวางตำแหน่งของบ่อ เช่น
           บ่อชะลอน้ำ บ่อตกตะกอน บ่อรับน้ำ และบ่อเติมน้ำลงใต้ดินมีจุดส่งน้ำและจุดรับน้ำให้เชื่อมโยงกัน
           ทำให้สามารถกระจายน้ำใต้ดินในพื้นที่ได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ

                 การวิเคราะห์สภาพปัญหา ประเทศไทยอยู่ในร่องมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและ

           มรสุมตะวันออกเฉียงใต้มีปริมาณน้ำฝนตลอดปี 1,572.5 มิลลิเมตร ในหมู่บ้านแต่ละแห่งมีพื้นที่
           ประมาณ 10 ตารางกิโลเมตร (พื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร มีน้ำฝน 1,572,000 ลูกบาศก์เมตร/ปี)

           และพบว่าพื้นที่ของชุมชนจะมีน้ำฝนประมาณ 15,720,000 ลูกบาศก์เมตร/ปี


               สถาบันพระปกเกล้า
   452   453   454   455   456   457   458   459   460   461   462