Page 453 - kpiebook65063
P. 453
จะเห็นได้ว่าโครงการฝายมีชีวิตยังคงมีการดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อทำให้เกษตรกรมีน้ำใช้ทั้ง
เพื่อการเพาะปลูก อุปโภคและบริโภค สร้างรายได้ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและยกระดับคุณภาพชีวิต
ของคนในหมู่บ้าน สร้างชีวิตที่ดีให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืน
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 ปัจจัยความสำเร็จและความท้าทาย
ปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญของโครงการฝายมีชีวิตขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึง
คือ (1) การเปิดโอกาสให้คนเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหา การร่วมตัดสินใจ
การร่วมดำเนินการ การร่วมใช้ประโยชน์ และการร่วมดูแลรักษาซึ่งทำให้ประชาชนตระหนักว่า
ฝายที่เกิดขึ้น คือสมบัติของประชาชนและชุมชนอย่างแท้จริง เนื่องจากบริบทในพื้นที่ของ
ตำบลป่าตึงประกอบประชาชนที่เป็นชนเผ่า ซึ่งเน้นวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกันกับป่า
และมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละชนเผ่าในการเข้าไปดำเนินงานของนวัตกรรม
จึงไม่สามารถที่จะดำเนินการในทุกพื้นที่ในแบบเดียวกัน ดังนั้นการเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่เข้ามา
ร่วมในการทำงานตั้งแต่การร่วมวิเคราะห์ปัญหา เพราะเป็นการนำเกษตรที่เผชิญปัญหาในพื้นที่
มาร่วมหาทางออกแทนที่จะเป็นโครงการของทางองค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึงกำหนดให้
ดำเนินการในพื้นที่ ดังนั้นทางเลือกในการแก้ปัญหาจึงเกิดจากภูมิปัญญาและแนวทางการดำเนินงาน
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
ที่ไม่ขัดกับวัฒนธรรมของแต่ละชนเผ่าในแต่ละพื้นที่ โดยผู้ที่มีบทบาทสำคัญคือผู้ใหญ่บ้าน
ที่เป็นคนในพื้นที่ทำให้สามารถระดมความร่วมมือและสร้างข้อตกลงร่วมกัน เพื่อเป็นแนวทาง
การดำเนินงาน ดังนั้นการสร้างฝายในช่วงแรกจึงเป็นการสร้างฝายตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของ
ชนเผ่า แต่เนื่องจากประสิทธิภาพของฝายยังคงไม่สามารถผลิตปริมาณน้ำที่เพียงพอ จึงมีการนำ
องค์ความรู้จากสถาบันการศึกษาเข้ามา โดยยังคงเป็นการทำงานร่วมกันตั้งแต่การหารือและ
วิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้การดำเนินงานเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งและไม่ขัดต่อวิถีวัฒนธรรมของ
คนในชุมชนที่คนพึ่งป่าและป่าพึ่งคน (2) การมีผู้นำในระดับหมู่บ้านที่เข้มแข็ง มีวิสัยทัศน์และ
ทำงานร่วมกันแบบเครือข่าย กล่าวคือ ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ที่กล้าคิด กล้าทำและกล้าตัดสินใจ
ทำให้สร้างความศรัทธาให้กับประชาชนในหมู่บ้านจนเกิดความมั่นใจที่จะทำตาม จากที่ได้กล่าวไว้
ข้างต้นถึงบริบทที่สำคัญของพื้นที่ตำบลป่าตึงที่ประกอบด้วยชนเผ่าต่าง ๆ ที่มีภาษา วัฒนธรรม
วิถีและความเชื่อของตนเอง ซึ่งการสร้างความร่วมมือและความเข้าใจร่วมกันของชนเผ่าต่าง ๆ
ที่มีวิถีแตกต่างจึงเป็นไปด้วยความละเอียดอ่อน แต่การที่ผู้นำแต่ละหมู่บ้านของตำบลป่าตึง
ได้รับเลือกตามวิถีของแต่ละชนเผ่าทำให้ได้รับการยอมรับจากคนในหมู่บ้านประกอบกับการที่
ผู้นำของแต่ละหมู่บ้านมีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่าย
เพื่อที่จะหาจุดยืนหรือข้อตกลงในการดำเนินการร่วมกันโดยเฉพาะการทำการเกษตรที่พื้นที่ของ
ทุกชนเผ่าติดต่อกันการใช้ปริมาณน้ำจากต้นน้ำส่งผลต่อปริมาณน้ำที่ปลายน้ำการที่ผู้นำแต่ละ
2 สถาบันพระปกเกล้า