Page 448 - kpiebook65063
P. 448
“...ตอนประชุมร่วมกันชาวบ้านก็ถามว่าใครจะเป็นคนดูแลหน้าฝาย ถ้าพัง
จะทำยังไง... เลยมีการหารือร่วมกันว่าเราจะดูแลด้วยกัน ถ้าเกิดต้องต้องซ่อม
เราจะลองหารือกับทาง อบต. เอา...”
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7
“...ตอนผู้ใหญ่มาคุยเราก็เข้าใจนะ เพราะตอนทำฝายชาวบ้านก็มาช่วยกัน
การเดินทางขึ้นไปดูแลฝายก็เป็นค่าใช้จ่ายทางชาวบ้านเขาก็รับผิดชอบ เลยให้มี
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
การตั้งงบประมาณในการดูแลฝายไว้ทุกปี และในตอนนั้นเรายังคุยกันว่าถ้าหากฝาย
สามารถแก้ปัญหาเรื่องน้ำได้ดี ก็จะตั้งงบไว้เพื่อสร้างฝายเพิ่ม เพราะถ้ามีน้ำ
เกษตรกรก็จะมีรายได้...”
หัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
“...ตอนหาอาสาดูแลในที่ประชุมแรก ๆ ก็ลำบากอยู่เพราะว่าทางขึ้นมัน
ลำบาก และค่อนข้างอันตราย แต่ว่าทางคณะกรรมการหมู่บ้านเริ่มมาเป็นอาสาก่อน
ช่วงหลัง ๆ คนเห็นประโยชน์ของฝายจึงเริ่มเข้ามามากขึ้น ถ้าใครเป็นอาสาดูเรื่อง
ไฟป่าก็มักจะมาดูเรื่องฝายด้วย...”
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7
ในการดำเนินโครงการนวัตกรรมในระยะที่สองมีการดำเนินงานที่สำคัญ ๆ สามส่วนหลัก ๆ
ได้แก่ ส่วนที่หนึ่ง การดับไฟป่าซึ่งทำให้พื้นที่ป่าได้รับความเสียหายจำนวนมากและทำให้ป่า
ต้องได้รับการฟื้นฟูซึ่งในการดับไฟป่าได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในจังหวัดเชียงราย
ส่วนที่สองการฟื้นฟูป่าภาคส่วนที่เข้ามามีบทบาทหลักคือเกษตรกรและผู้นำหมู่บ้าน ทั้งนี้โดย ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
ทุนทางสังคมเดิมที่เน้นการอยู่ร่วมกับป่าโดยการไม่ทำลายป่า เน้นการหาพื้นที่ในการสร้างฝาย
การปรับปรุงเส้นทางในการเข้าไปบำรุงรักษาฝาย เพราะฝายที่ดำเนินการเป็นการดำเนินการ
บนฐานของภูมิปัญญาของชุมชนโดยฝายที่สร้างในปีที่ผ่านมามีการผุพังและต้องมีการซ่อมแซม
โดยได้มีการของบประมาณสนับสนุนจากทางองค์การบริหารส่วนตำบลในส่วนของค่าวัสดุอุปกรณ์
และการนำชาวบ้านในพื้นที่เข้าไปร่วมทำฝาย โดยทางองค์การบริหารส่วนตำบลมีการจัดทำ
งบประมาณสำหรับการจัดทำฝายและการบำรุงรักษาฝายไว้ในงบประมาณประจำปีทุกปี
ส่วนที่สาม การสร้างเครือข่ายอาสาในการดูแลฝายและป้องกันไฟป่า โดยอาสาสมัครคือ
คนในพื้นที่ในการช่วยกันดูแลรักษาฝายให้สามารถใช้งานได้ดี รวมถึงการลาดตระเวรเฝ้าระวัง
สถาบันพระปกเกล้า