Page 449 - kpiebook65063
P. 449
ไม่ให้เกิดไฟป่า การดูแลให้ทุกคนทำตามกฎการใช้ประโยชน์จากป่า เพื่อให้สภาพป่าฟื้นฟูและเป็น
แหล่งต้นน้ำให้กับชุมชนต่อไป ในการดำเนินการในส่วนที่สามผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญคือ
ชาวบ้านในชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน และเครือข่ายลุ่มน้ำ
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 ในการทำเกษตรมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีภาวะขาดน้ำในบางช่วง แต่ก็ยังคงมีน้ำใช้มากกว่าตอนที่
ภายหลังจากการมีฝายในลูกแรกที่หมู่ 7แล้วผลที่เกิดขึ้นคือเกษตรหมู่ 7 มีปริมาณน้ำ
ไม่มีฝาย แต่ถึงอย่างไรก็ตามฝายที่ทำขึ้นในปี พ.ศ. 2562 เป็นฝายที่ทำตามประสบการณ์จึงชำรุด
ง่าย จึงเป็นที่มาของการดำเนินงานนวัตกรรมในระยะสามในช่วงปีพ.ศ. 2563 ได้มีการเข้ามาของ
สถาบันการศึกษาคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏจังหวัดเชียงรายได้นำองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำฝาย
ที่เหมาะกับพื้นที่และจะทำให้เกิดธนาคารน้ำใต้ดินที่ใกล้ฝายที่ทำขึ้นในรัศมี 2 เมตร และได้
ถ่ายทอดองค์ความรู้ดังกล่าวให้กับประชาชนในหมู่ 7 และองค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึง
ถึงแม้ว่าฝายที่สร้างใน ปี 2562 ไม่ได้มีสถาบันการศึกษาเข้าหนุนเสริมยังทำให้เกษตรกรหมู่ที่ 7
มีปริมาณน้ำใช้เพิ่มมากขึ้น โดยทางมหาวิทยาลัยราชภัฏได้ขึ้นไปดูพื้นที่พร้อมกับชาวบ้าน นอกจาก
จะสอนวิธีการสร้างฝาย ยังสอนวิธีเลือกจุดที่จะทำฝาย รวมถึงชี้จุดที่จะเกิดธนาคารน้ำใต้ดิน
รอบฝาย และยิ่งมีการหนุนเสริมการทำฝายจากการเข้ามาหนุนเสริมของสถาบันการศึกษาดังกล่าว
ทำให้หมู่บ้านที่ประสบปัญหาขาดน้ำสนใจเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นปี 2563 มีหมู่บ้านที่สนใจที่จะจัดทำ
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
ฝายเพิ่มขึ้นคือหมู่ 9 และหมู่ 11 เพราะประชาชนในหมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 11 เห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับ
หมู่ที่ 7 โดยรูปแบบการบริหารฝายมีรูปแบบการทำงานที่คล้ายกับหมู่ที่ 7 คือฝายที่บริหารจัดการ
โดยชุมชน ซึ่งใน ปี พ.ศ. 2563 จึงมีการสร้างฝายจำนวนทั้งสิ้น 3 จุด (ลูก) ในหมู่ 7 9 และ 11
สำหรับใน ปี พ.ศ. 2564 ทางองค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึงได้มีการกำหนดงบประมาณไว้สำหรับ
สร้างฝายอีก 3 แห่ง แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของสถานการณ์ COVID 19 จึงไม่สามารถสร้าง
ฝายในปีงบประมาณดังกล่าวได้
“...ฝายลูกแรกก็ได้ผลดีอยู่อาจารย์ แต่มันพังเร็ว.. พออาจารย์ราชภัฏ
เขาเข้ามาที่ อบต. และ อบต. ถามว่าเราสนใจไหม เราเลยตอบว่าสนใจ อาจารย์
เขาเลยมาช่วยสอน...”
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7
“...ทางอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏเขาเข้ามาเสนอรูปแบบการทำฝาย
โดยเขาบอกว่าถ้าทำแบบนี้จะสามารถทำให้รัศมีของบริเวณที่ทำฝายประมาณ
2 กิโลเมตรเป็นธนาคารน้ำใต้ดินได้ ทางอบต.เลยชวนทางหมู่ที่ 7 ให้ลองทำดู”
หัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
สถาบันพระปกเกล้า