Page 444 - kpiebook65063
P. 444
“...ลำพังการทำความเข้าใจกับเกษตรกรคงไม่เพียงพอเนื่องจากว่า
เราไม่สามารถรับประกันได้ว่าถ้าเขาใช้สารเคมีลดลงแล้วจะได้ราคาดีขึ้น แต่เมื่อ
มีโครงการหลวงเข้าไป เขาสร้างความเชื่อมั่นให้กับเกษตรเกี่ยวกับการรับซื้อและ
ราคาได้ เกษตรหลายคนจึงเริ่มเข้าโครงการ...”
หัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าในการดำเนินการของนวัตกรรมในระยะที่หนึ่ง ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
ใน ปี พ.ศ. 2560-2561 เกิดขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำแล้งสำหรับการทำการเกษตรในพื้นที่ปลายน้ำ
การแก้ไขปัญหาการใช้สารเคมีในการทำการเกษตรและการหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดไฟป่า
ซึ่งผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเข้ามาขับเคลื่อนคือผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 ร่วมกับเครือข่ายลุ่มน้ำและ
เกษตรกรในพื้นที่เพื่อทำการค้นหาพื้นที่ที่ในการสร้างฝายเพื่อให้เกษตรกรมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อ
การทำการเกษตร และเป็นการฟื้นฟูความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าโดยการสร้างฝายในระยะแรกนี้
เป็นการสร้างฝายบนฐานของภูมิปัญญาของคนในพื้นที่ นอกจากนั้นการเข้ามาของโครงการหลวง
ในการชักชวนเกษตรกรให้มีการปลูกผักโดยลดการใช้สารเคมีและทำการรับซื้อผักที่ปลูกทำให้
เกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ปลายน้ำสามารถใช้น้ำทำการเกษตรได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการทำ
โครงการฝายมีชีวิต
สำหรับการดำเนินการในระยะที่สอง พ.ศ. 2562 เกิดสถานการณ์ที่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยน
ในการดำเนินโครงการและเป็นจุดเริ่มต้นของการทำฝายกล่าวคือ เกิดไฟป่าขึ้นที่ดอยจระเข้
และเป็นไฟป่าที่มีความรุนแรงจนกระทั่งต้องมีการทำงานในระดับอำเภอและมีหน่วยงานต่าง ๆ
ในระดับประเทศเข้ามาช่วยเหลือเช่น มูลนิธิกระจกเงา เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ดอยจระเข้
ไม่เกิดไฟป่าเป็นระยะเวลา 3-4 ปี ทำให้ความรุนแรงเกิดขึ้นมากกว่าพื้นที่มีไฟป่าทุกปี ถึงแม้ว่า
องค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึงจะมีการเฝ้าระวังโดยมีการจัดตั้งเครือข่ายแล้วก็ตาม ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
“...ตอนนั้นไฟแรงมากเลยนะอาจารย์ มีเฮลิคอปเตอร์เข้ามาทิ้งลูกดับไฟ
ด้วย... ไฟแรงมากเราเข้าไปดับไม่ได้เลย ได้แต่ทำแนวกันไฟ...”
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7
“...ถึงแม้ว่าเรามีการเครือข่ายเฝ้าระวัง และมีกฎหมู่บ้านแล้ว แต่พื้นที่
มันกว้าง คนนอกเวลามาหาของป่ามีการจุดไฟแล้วดับไม่สนิทเลยทำให้เกิดไฟ...”
นิติกรชำนาญการ
สถาบันพระปกเกล้า