Page 440 - kpiebook65063
P. 440

หมู่ที่ 7 บ้านป่าตึง หมู่ที่ 17บ้านปางสา

                       หมู่ที่ 8 บ้านป่าตึง (ป่ากุ่ม) หมู่ที่ 18 บ้านใหม่เจริญ
                       หมู่ที่ 9 บ้านป่าเมี ยง หมู่ที่ 19 บ้านสันติสุข

                       หมู่ที่ 10 บ้านสันโค้ง หมู่ที่ 20 บ้านเล่าฝู่

                     ประชากรในพื้นที่ตำบลป่าตึง มีจำนวนทั้งสิ้น 26,827 คน จำแนกเป็นชาย 13,053 คน

               หญิง 13,774 คน จำนวนครัวเรือน 9,718 ครัวเรือน มีความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ยต่อพื้นที่
               ประมาณ 122 คน ต่อ ตารางกิโลเมตร ทั้งนี้ประชากรในพื้นที่ประกอบด้วยหลายเชื้อชาติ         ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
               หลายศาสนา เช่น ชุมชนพื้นราบ ชาวไทยภูเขา เผ่าอาข่า (อีก้อ), ลาหู่ (มูเซอ), ลีซู (ลีซอ), เมี้ยน

               (เย้า), จีนฮ่อ, ลั้วะ และปะหล่อง, ไทใหญ่ ซึ่งประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึง
               ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกร รองลงมา คือ อาชีพรับจ้างทั่วไป และอาชีพค้าขาย


                     จากการที่สภาพทางภูมิศาสตร์ที่เป็นพื้นที่ป่าประกอบกับอาชีพส่วนใหญ่ของคนในพื้นที่
               เป็นเกษตรกรทำให้สะท้อนถึงทุนทางวัฒนธรรมที่สำคัญในการที่คนอยู่ร่วมกันกับป่า การให้

               ความสำคัญกับการอนุรักษ์ป่าทำให้พื้นที่ป่าไม่เกิดไฟป่าในช่วง ปี พ.ศ. 2560-2562 และการให้
               ความสำคัญกับการจัดการป่าโดยคนในชุมชน การสร้างข้อตกลงร่วมกันในชุมชนในการใช้พื้นที่ป่า
               จึงถือได้ว่าเป็นบริบทที่เป็นต้นทุนที่สำคัญของพื้นที่ในการจัดการป่า ซึ่งถึงแม้ว่าต้นทุนทางสังคม

               ดังกล่าวจะถูกท้าทายด้วยการผลิตทางการเกษตรแบบทุนนิยมกล่าวคือ การเน้นการผลิต
               แบบเชิงเดี่ยวและการใช้สารเคมีแทนการปลูกโดยวิถีแบบดั้งเดิม ซึ่งเกษตรกรบางกลุ่มในพื้นที่

               ได้มีการเปลี่ยนแบบแผนการผลิต แต่ถึงอย่างไรก็ตามเมื่อการผลิตดังกล่าวส่งผลกับการผลิต
               ของเกษตรกรกลุ่มที่อยู่ปลายน้ำ การมีต้นทุนทางสังคมที่เน้นการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับป่า ทำให้เกิด
               การปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตเพื่อให้เกษตรกรทุกกลุ่มอยู่ได้ และป่าอยู่ได้


                     นอกจากนั้นการที่คนในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าที่มีภูมิปัญญา ภาษาและวัฒนธรรม
               ที่แตกต่างกันทำให้ในการทำงานร่วมกันระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึงจึงให้ความสำคัญ   ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
               ในการดำเนินงานบนฐานของทุนวัฒนธรรมที่มีแนวทางแตกต่างกัน การดูแลรักษาป่าก็เป็น

               ประเด็นหนึ่งที่มีการใช้ภูมิปัญญาของแต่ละชนเผ่าภายใต้การยึดถือกฎของชุมชนที่เน้นให้ป่า
               มีความอุดมสมบูรณ์ละสามารถเป็นแหล่งในประกอบอาชีพทางการเกษตรอย่างยั่งยืน



               เส้นทางนวัตกรรม


                     โครงการการอนุรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติโดยการสร้างฝายมีชีวิต
               หรือโครงการฝายมีชีวิตเป็นโครงการที่มีการดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน






                                                                              สถาบันพระปกเกล้า    29
   435   436   437   438   439   440   441   442   443   444   445