Page 442 - kpiebook65063
P. 442
สถานการณ์ที่เกิดใน ปี พ.ศ. 2560-2561 หรือในระยะที่หนึ่ง ในพื้นที่ตำบลป่าตึงเริ่มมี
ภาวะขาดแคลนน้ำในการทำเกษตรเป็นบางช่วง จากข้อมูลทั่วไปที่กล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า
ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร เพราะสภาพน้ำและพื้นดินที่เอื้ออำนวย
แต่ปรากฏว่าในช่วงระยะที่หนึ่งเริ่มมีการขาดน้ำทั้งในส่วนของการทำการเกษตร แต่รวมถึง
การอุปโภคและบริโภคด้วย (น้ำกินน้ำใช้ส่วนใหญ่มาจากการทำประปาภูเขา) ประกอบกับ
การทำการเกษตรในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเกษตรกรส่วนใหญ่ทำเพาะปลูกโดยใช้สารเคมี ทำให้
คำว่าขาดแคลนน้ำนอกจากจะหมายถึงว่าปริมาณน้ำไม่เพียงพอเท่านั้น แต่ยังรวมถึงปริมาณน้ำ
ที่มียังไม่สามารถใช้ในการทำการเกษตรได้เนื่องจากว่าปนเปื้อนกับสารเคมี ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
“...ไม่ใช่แค่น้ำไม่เพียงพอนะอาจารย์ แต่ยังรวมถึงน้ำที่มีเราก็ยังใช้กินใช้อาบ
ไม่ได้ด้วย ใช้รดน้ำก็เป็นปัญหาเหมือนกัน...”
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7
“...ในอดีตที่นี้น้ำดี ดินดี พอมีการขยายตัวของการทำการเกษตรที่ใช้
ยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมี เกษตรก็ใช้กันคือมันง่ายและได้ผลดี แต่พอพื้นที่ต้นน้ำใช้
น้ำก็ปนเปื้อนยาฆ่าแมลงและปุ๋ยเคมี พอมากลางน้ำก็ใช้อีก คนปลายน้ำก็เลย
แย่นะ...”
นิติกรชำนาญการ
นอกจากปัญหาการขาดแคลนน้ำบางช่วง น้ำปนเปื้อนสารเคมี รวมถึงการที่ไม่เกิดไฟป่า
มาเป็นระยะเวลา 3 ปี ทำให้ผู้ใหญ่บ้านในพื้นและผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลที่เริ่มที่จะ
กังวลในเรื่องของการเกิดไฟป่า เพราะหากมีไฟป่าเกิดขึ้นในพื้นที่จะสร้างความเสียหายอย่างรุนแรง ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
และการเข้าไปดับไฟเป็นไปได้ยาก เนื่องจากพื้นที่เป็นภูเขาและการเดินทางมีเพียงทางที่คนเดิน
เข้าไปในป่า ทำให้เกิดการประชุมร่วมกันระหว่างท้องที่ คือ ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้านในตำบลป่าตึง
กับทางท้องถิ่น ซึ่งก็คือทางองค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึง เครือข่ายลุ่มน้ำจันเพื่อหาแนวทาง
ในการป้องกันไฟป่า และแนวทางในการแก้ไขปัญหาในการขาดแคลนน้ำ ซึ่งผลสรุปจากที่ประชุม
ในการหาแนวทางป้องกันไฟป่าก็คือการทำความเข้าใจกับเกษตรถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจาก
ไฟป่า การหาอาสาสมัครในการดูแลป่าของแต่ละหมู่บ้านเพื่อที่จะช่วยกันดูแล ลาดตระเวน ไม่ให้
เกิดไฟป่าทั้งจากคนในพื้นที่และจากที่เข้ามาหาของป่า และมีการสร้างข้อตกลงร่วมกันในการใช้น้ำ
เพื่อให้น้ำที่มีอยู่มีสารเคมีปนเปื้อนลดลง และเพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอในการทำการเกษตร
สถาบันพระปกเกล้า 1