Page 446 - kpiebook65063
P. 446
ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากเกิดไฟป่าที่ดอยจระเข้คือ ความเสียหายต่อพื้นที่เกษตร
แหล่งน้ำที่เคยเพียงพอเริ่มขาดแคลน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ที่ 7 ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อ
การทำการเกษตร ทางผู้ใหญ่บ้านจึงประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านและองค์การบริหารส่วนตำบล
ป่าตึงเพื่อหาทางออกร่วมกัน ซึ่งทางที่ประชุมลงความเห็นว่าต้องหาทางที่จะฟื้นฟูแหล่งน้ำ
ให้มีความอุดมสมบูรณ์ มีปริมาณน้ำเพียงพอ โดยตกลงร่วมกันจะทำฝาย
“...ย้อนไปตอนนั้น คุยกันอยู่นานเหมือนกันนะอาจารย์ ว่าจะทำยังไง
ได้ข้อตกลงว่าจะฝาย... แต่ปัญหาก็ตามมาอีกว่าจะทำที่ไหน...” ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7
“...ถ้าลำพังเพียงแค่เครือข่ายเฝ้าระวังมันก็เป็นปลายเหตุ แต่ต้นเหตุตอนนี้
คือไม่มีแหล่งน้ำ จึงทำให้ต้องมีการประชุมร่วมกันเพื่อหาทางออก เพราะชาวบ้าน
เขาเดือดร้อนจริง...”
หัวหน้าสำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
“...คิดว่าอาจารย์น่าจะเข้าใจตอนที่เราจะทำฝาย เราต้องดูจุดที่เหมาะสมด้วย
แต่ก็อย่างที่อาจารย์เห็นนะ มันเดินทางลำบากมาก...”
ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7
หลังจากที่ประชุมได้มีมติให้ทำการสร้างฝาย ทางผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 และคณะกรรมการ
หมู่บ้านได้ทำการเดินสำรวจเพื่อหาจุดที่จะทำฝาย ซึ่งทางผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านได้
เลือกจุดที่จะทำฝายจำนวน 1 จุดแต่ว่าทางที่จะขึ้นไปทำฝายค่อนข้างที่จะลำบาก ยังคงเป็น ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
ทางคนเดิน ยังไม่มีทางที่เป็นทางรถวิ่ง การนำวัสดุจากข้างล่างขึ้นไปค่อนข้างยากลำบากดังนั้น
จึงมีการสำรวจวัสดุในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวเพื่อที่จะนำมาทำฝาย ดังนั้นต้องมีการวางแผน
ในการทำฝายเป็นอย่างดีเพื่อที่จะทำให้สามารถที่จะสร้างฝายเสร็จภายในวันเดียว ถึงแม้ว่า
ในการทำฝายจะเป็นหาวัสดุจากในบริเวณป่าแต่ถึงอย่างไรก็ตามจะยังคงมีวัสดุเช่น ลวด เชือก
เป็นต้น และเครื่องมือในการก่อสร้างฝายที่จะต้องนำติดตัวไป รวมถึงอาหารที่จะต้องนำไปด้วย
ทำให้ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 นำเรื่องไปหารือกับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุน ซึ่งทาง
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหนุนได้จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าอาหารและค่าวัสดุ
และสำหรับแต่ละครัวเรือนในหมู่ 7 ได้มีการให้ส่งตัวแทนหลังคาเรือนละ 1 คน เพื่อที่จะมาทำฝาย
สถาบันพระปกเกล้า