Page 435 - kpiebook65063
P. 435
เจ้าของพื้นที่ ผู้นำชุมชน และองค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม ซึ่งภายหลังการร่วมกันวิเคราะห์
ปัญหาแล้ว และมีการหาพื้นที่ในการทำแก้มลิงเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งกระบวนการมีส่วนร่วมทำให้
เกษตรกรเจ้าของพื้นที่มีส่วนตัดสินใจในการบริจาคพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งไม่ได้เป็นการกำหนด
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 ตัดสินใจร่วมกันของเจ้าของพื้นที่ แกนนำ และองค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม การเปิดโอกาส
พื้นที่จากทางองค์การบริหารส่วนตำบลทำให้การเลือกพื้นที่เป็นสิ่งที่เกิดจากการมีส่วนร่วม
ให้เกษตรกรเจ้าของพื้นที่เข้ามาร่วมตั้งแต่ต้นจึงเป็นสิ่งที่มีผลการแก้ไขปัญหาโดยไม่มีความขัดแย้ง
ในพื้นที่และทำให้สามารถแก้ไขได้
2. การเสียสละทรัพย์สินส่วนตัว และการสร้างเครือข่ายจิตอาสาในการจัดการน้ำเนื่องจาก
บริบทของพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติและอยู่นอกเขตชลประทาน และพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่
ทางการเกษตรที่มีเจ้าของ ทำให้ในการจัดหาพื้นที่เพื่อที่จะสร้างแก้มลิงจึงจำเป็นต้องใช้
พื้นที่ทางการเกษตรกร การเจรจาต่อรองในการขอพื้นที่จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะโดย
องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุมไม่ได้มีงบประมาณสำหรับการซื้อพื้นที่ดินจากเกษตรกร
ดังนั้นการหาพื้นที่เพื่อที่จะมาทำแก้มลิงจึงเกิดจากความสมัครใจ จากปัจจัยความสำเร็จ
ในการเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น ทำให้เกษตรกรเห็นถึงปัญหาและ
วิธีการแก้ปัญหาซึ่งก็คือการเสียสละพื้นที่ทางการเกษตรของตนโดยเฉพาะพื้นที่จุดแรก นอกจาก
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
การเสียสละพื้นที่แล้ว การดูแลและบริหารจัดการน้ำในพื้นที่แก้มลิง ก็เป็นประเด็นที่มีความสำคัญ
ทั้งนี้เนื่องจากบริบทที่พื้นที่ทางการเกษตรในเขตพื้นที่ตำบลนครชุมเป็นพื้นที่ทางการเกษตร
ที่มีอาณาเขตติดต่อกัน การสร้างข้อตกลงและการทำการดูแลพื้นที่แก้มลิงต้องเข้าไปดูแลในพื้นที่
ของเกษตรกรที่เสียสละดังนั้นการดูแลแก้มลิงจึงไม่ได้เป็นภาระหรือหน้าที่ของเจ้าของพื้นที่
แต่เป็นการที่เครือข่ายอาสาเข้ามาดูแลซึ่งสะท้อนให้เห็นทั้งในส่วนของความเสียสละของเจ้าของ
พื้นที่ทั้งในส่วนของการให้พื้นที่ เปิดพื้นที่ แต่ยังเป็นการเปิดพื้นที่ให้เข้ามาร่วมดูแลและแบ่งปันน้ำ
จากแก้มลิงให้กับเกษตรกรในพื้นที่อีกด้วย
2 สถาบันพระปกเกล้า