Page 434 - kpiebook65063
P. 434
ส่วนตำบลนครชุมสามารถที่จัดหาทรัพยากรในการดำเนินงานได้ทำให้อุปสรรคในการดำเนินงาน
หมดลง โครงการสามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ในการดำเนินการของนวัตกรรมในระยะที่สามนี้สามารถสรุปเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ๆ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 เป็นการเจรจากับเกษตรกรเพื่อบริจาคพื้นที่อย่างต่อเนื่องจากเดิมมีในพื้นที่หมู่ที่ 7
มีการขยายไปสู่พื้นที่หมู่อื่นคือหมู่ที่ 11 ผู้ขับเคลื่อนหลักคือผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน
องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุมในการเจรจาทำข้อตกลง รวมถึงการหางบประมาณ ขั้นตอนที่ 2
เป็นการพัฒนาพื้นที่ถนนทางเข้าออกพื้นที่ทางการเกษตรเพื่อที่จะทำให้ผลผลิตไม่ตกหล่นเสียหาย ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
ระหว่างทาง ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลนครชุมเป็นผู้จัดหางบประมาณในการดำเนินการ
ดังกล่าว รวมถึงการก่อสร้างโรงสีข้าวชุมชนเพื่อทำให้ข้าวที่มีอยู่สามารถขายได้มีราคามากยิ่งขึ้น
ขั้นตอนที่สาม การปรับปรุงภูมิทัศน์รอบแก้มลิงให้เป็นที่พักผ่อนและการนำพันธุ์ปลามาปล่อย
ในพื้นที่แก้มลิงเพื่อเป็นการลดรายจ่ายของเกษตรกร โดยทางองค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม
และขั้นตอนสุดท้ายการสร้างเครือข่ายจิตอาสาในการดูแลบำรุงรักษาแก้มลิง และระบบ
การจัดการน้ำในแก้มลิง ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของคนในพื้นที่ในการช่วยกันดูแลและ
องค์การบริหารส่วนตำบลนครชุมเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน
ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงาน
โครงการ ไม่ท่วม ไม่แล้ง ไม่จน มุ่งเน้นการสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการตั้งแต่เริ่ม
ดำเนินงาน โดยมีปัจจัยความสำเร็จดังนี้
1. การเปิดโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มกระบวน ไม่ว่าจะเป็นการร่วมวิเคราะห์ปัญหา
และเสนอโครงการร่วมกันกับเจ้าหน้าที่โดยเจ้าหน้าที่จากองค์การบริหารส่วนตำบลนครชุม
ได้ดำเนินการออกสำรวจก่อนดำเนินงานโครงการร่วมกับกลุ่มแกนนำในพื้นที่เพื่อรับทราบข้อมูล
และสภาพปัญหาเพื่อนำมาวางแผนในการปฏิบัติงาน และเป็นแนวคิดในการออกแบบโครงการ ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากบริบทของพื้นที่จะเห็นได้ว่าคนในพื้นที่เป็นคนในชุมชน
ดั้งเดิมและเป็นพื้นที่ทางเกษตรที่มีพื้นที่ต่อกันเป็นผืนใหญ่ แต่ในพื้นที่ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ
ดังนั้นในการแก้ไขปัญหาเรื่องแหล่งน้ำจึงเป็นปัญหาที่ชุมชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมเพราะเนื่องจาก
จะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทางการเกษตรของคนในพื้นที่ รวมทั้งปัญหาเรื่องน้ำแล้งและน้ำท่วม
เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายปี ทำให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญว่าการแก้ปัญหาไม่ได้
เป็นปัญหาของภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่ง การปล่อยให้ภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่งแก้ไขเพียง
ภาคส่วนเดียวปัญหาก็จะยังเกิดขึ้นเหมือนที่ผ่านมา ดังนั้นการเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วม
ในการดำเนินการครั้งนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่มีความสำคัญในการวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันทั้งเกษตรกร
สถาบันพระปกเกล้า 2