Page 456 - kpiebook65063
P. 456
บริบทเดิมของพื้นที่มีปัญหาน้ำท่วมขังและภัยแล้ง ได้เกิดขึ้นซ้ำซากมาอย่างยาวนาน
ปัญหาเรื่องการบุกรุกพื้นที่สาธารณะ และงบประมาณไม่เพียงพอในการพัฒนาพื้นที่มีการใช้
สารเคมีของเกษตรกรบางพื้นที่ เมื่อฝนตกลงมาและมีน้ำไหลผ่านจะทำให้เกิดการกัดเซาะ
ชั้นหน้าดินโดยธรรมชาติจะทำให้ดินแข็งกระด้างและเสื่อมโทรม ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลผลิต
ทางการเกษตรตกต่ำลงจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผู้นำชุมชนหาวิธีแก้ปัญหา และได้ทำการศึกษา
ข้อมูลโดยได้น้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” การบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริพระบาท
สมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในโครงการแก้มลิง
เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัยในภาคกลาง มาเป็นแนวทางในพัฒนาการคิดระบบการบริหารจัดการน้ำ ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
อย่างบูรณาการและได้มีการน้อมนำเอาองค์ความรู้ของ พระนิเทศศาสนคุณ (หลวงพ่อสมาน
สิริปัญโญ) ประธานสถาบันวิจัยนิเทศศาสนคุณท่านเห็นว่าเรื่อง “วิกฤตน้ำ” ที่ประเทศไทย
กำลังเผชิญอยู่นั้นมีสาเหตุจากหลายปัจจัย คือ สภาวะภัยแล้ง และการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ ปริมาณความต้องการใช้น้ำมีเพิ่มมากขึ้นจากทุกภาคส่วน การขาดประสิทธิภาพ
ในการบริหารจัดการน้ำโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม และสถานการณ์แหล่งน้ำที่สะอาด
ถูกคุกคามจนเกิดมลพิษ จึงเป็นที่มาของแนวคิดฝนลงเก็บไว้ใต้ดิน”
ด้วยปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว นำมาสู่ระบบธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง (Sufficiency
Groundwater Bank: SGB) โดยเริ่มทดลองทำตามแนวคิดครั้งแรก ณ วัดบุญเรืองสุวรรณาราม
บ้านคำโป่งเบ้ง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ในปี พ.ศ.2537 และทดลองทำต่อเนื่อง
ณ วัดอาฮงศิลาวาส อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ จนประสบความสำเร็จและมั่นใจในแนวคิด
ที่จะเป็นผลดีกับประชาชนและเกิดประโยชน์กับประเทศชาติต่อไป หลวงพ่อสมาน สิริปัญโญ
จึงได้แต่งตั้งคณะทำงานให้ความรู้และดำเนินการเพื่อเป็นวิทยาทานและเป็นประโยชน์ต่อ
ประเทศชาติ ดังมีรายชื่อดังต่อไปนี้ 1) พระปลัดสุเมท จรธมโม 2) พันเอก (พิเศษ) ธนศักดิ์
มิตรภานนท์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 22 3) นายชาตรี๊ ศรีวิชาฐา นายกองค์การบริหาร
ส่วนตำบลเก่าขาม 4) นายโกวิทย์ ดอกไม้ นักวิชาการระบบธนาคารน้ำใต้ดิน 5) นายพินิจ ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
สีหะนันท์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์
การเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาไว้ใต้ดิน เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ “ธนาคารน้ำใต้ดินแบบพอเพียง”
Sufficiency Groundwater Bank (SGB) ที่เรียบง่ายอย่างสร้างสรรค์และมีการพัฒนาระบบ
การสร้างกลไก ในการป้องกันการปนเปื้อนของน้ำบนดิน ที่เกิดจากการใช้สารเคมีของเกษตรกร
ไหลสู่ใต้ดินแบบบ่อประดิษฐ์ ผ่านกระบวนการกรองโดยธรรมชาติของชั้นหิน เป็นระบบ
การบริหารจัดการโดยใช้ “ธรรมชาติ บำบัด”สามารถอธิบายได้โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
มีข้อมูลเชิงประจักษ์ว่าเป็นนวัตกรรมที่ส่งเสริมการบูรณาการความร่วมของภาคประชาชน และ
สถาบันพระปกเกล้า