Page 19 - kpiebook65057
P. 19

ข้าราชการ มากกว่าประชาชน โครงสร้างอำนาจทางการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญ
             พ.ศ. 2550 มุ่งจัดสรรอำนาจให้กับชนชั้นปกครอง กลุ่มอำมาตย์และข้าราชการ
             มากกว่าการจัดสรรอำนาจให้กับประชาชน การกลับขึ้นมามีอำนาจของกลุ่มอำนาจเก่า

             จึงนำไปสู่ยุคถดถอยของประชาธิปไตย ขณะที่ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง
             ในระดับชาติ และความแตกแยกทางสังคม ส่งผลต่อกระบวนการการเมืองภาคพลเมือง

             ที่เกิดความถดถอย เกิดค่านิยมที่ไม่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น การลิดรอนสิทธิเสรีภาพ
             ของประชาชน การคอร์รัปชัน และปัญหาในกระบวนการยุติธรรม การมีส่วนร่วม
             ทางการเมืองในยุคนี้ส่วนใหญ่เป็นลักษณะของการมีส่วนร่วมที่เป็นการชุมนุมประท้วง

             ที่เกิดจากความไม่พอใจทางการเมืองและเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
             อำนาจรัฐ รวมถึงเกิดการปะทะกันระหว่างฝ่�ายที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่าง

             กันอยู่บ่อยครั้ง


                           1.1.8)  ยุคการเมืองของคนรุ่นใหม่และการเฟื้้�องฟืู้ของ
                                  เทคโนโลยีการสื่อสาร พ.ศ.2560 - ปัจจุบัน

                           การเมืองภาคพลเมืองยุคนี้เป็นการเมืองที่คนรุ่นใหม่ได้เข้ามามี

             บทบาทในการต่อสู้ทางการเมือง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความตื่นตัวทางการเมือง
             และแนวคิดของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการจะเห็นอนาคตแบบใหม่ ลักษณะของการต่อสู้

             มีการใช้สื่อออนไลน์เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร อาทิ ข้อมูลที่เกี่ยวกับ
             การบริหารประเทศของภาครัฐ  การออกกฎหมายการดำเนินนโยบายต่างๆ
             การตรวจสอบถ่วงดุล การเรียกร้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การเข้าไปเปลี่ยนแปลง

             โครงสร้างอำนาจทางการเมือง ฯลฯ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารทำให้
             การรวมกลุ่มทางสังคมทำได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามการเมืองในยุคนี้เป็นการรวมกลุ่ม

             แบบหลวมๆ และสลายตัวไปอย่างรวดเร็ว รูปแบบการต่อสู้ทางการเมืองของคนรุ่นใหม่
             เน้นไปที่การใช้สื่อออนไลน์เป็นช่องทางในการสื่อสารกับมวลชนและกลุ่มเป้าหมาย
             โดยเป้าหมายของการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่เป็นลักษณะของ

             การสร้างข้อเสนอเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจรัฐ เช่น ข้อเรียกร้องให้มีการแก้ไข
             รัฐธรรมนูญ ข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก และข้อเรียกร้องให้มีการปฏิิรูป

             สถาบันพระมหากษัตริย์



                                              XVIII
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24