Page 15 - kpiebook65057
P. 15
รัฐบาลได้ยังได้รับการช่วยเหลือด้านเงินทุนจากสหรัฐอเมริกาเพื่อใช้ไทยเป็นฐานทัพ
ในการรบกับเวียดนามเป็นจำนวนมาก ปัจจัยจากภายนอกได้เข้ามามีอิทธิพลต่อ
การเมืองภายในประเทศและได้มีส่วนในการหล่อหลอมอุดมการณ์แบบประชาธิปไตย
ให้กับนิสิตนักศึกษา เริ่มมีการตระหนักถึงการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง การเมือง
ภาคประชาชนเริ่มตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น จนสามารถนำประเทศเข้าสู่ “ยุคทดลอง
ประชาธิปไตย” ซึ่งเป็นยุคที่การเมืองภาคพลเมืองมีการเติบโตและมีความเข้มแข็ง
1.1.4) ยุคถดถอยของการเมืองภาคพลเมือง พ.ศ. 2519 - 2529
ภายหลังการขึ้นมามีอำนาจของประชาชนหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม
2516 ได้เกิดการปฏิิรูปการเมืองหลายด้าน เกิดการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองสู่
ประชาธิปไตย ขบวนการแรงงานมีอำนาจต่อรองกับนายจ้างมากขึ้น และสามารถ
ที่จะนัดหยุดงานพร้อมกันในหลายโรงงานเพื่อเรียกร้องให้มีการปรับปรุงค่าแรงและ
สวัสดิการของแรงงาน โดยเหตุการณ์นัดหยุดงานที่สำคัญ คือ การหยุดงานของ
กรรมกรหญิงโรงงานฮารา ตรอกวัดไผ่เงิน วันที่ 9 ตุลาคม 2518 เพื่อเรียกร้อง
ขอขึ้นค่าแรงและปรับปรุงสวัสดิการ การนัดหยุดงานครั้งนี้กลายเป็นการต่อสู้
ที่ยืดเยื้อที่สุด เพราะฝ่�ายนายจ้างไม่ยอมเจรจาและยังมีคำสั่งไล่คนงานที่ประท้วง
ออกจากงาน การประท้วงดำเนินไปจนถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2518 กรรมกร
ได้ยึดโรงงานและทำการผลิตสินค้าออกมาขายโดยใช้วัตถุดิบที่เหลืออยู่และตั้งชื่อ
โรงงานว่า “สามัคคีกรรมกร” (บันทึก 6 ตุลา, มปป) จึงเป็นยุคที่ขบวนการแรงงานและ
การเมืองภาคพลเมืองมีความเข้มแข็ง
อย่างไรก็ตามยุคทดลองประชาธิปไตยที่ภาคประชาชนมีอิทธิพล
ทางการเมืองได้เข้าไปเบียดบังอำนาจของกลุ่มชนชั้นนำเดิม ทำให้กลุ่มเหล่านี้ต้องการ
ที่จะยึดอำนาจทางการเมืองกลับคืนมา เหตุการณ์การเดินทางกลับประเทศของ
จอมพล ประภาส และ จอมพล ถนอม ในปี พ.ศ. 2519 ก่อให้เกิดความไม่พอใจ
และนำไปสู่กระแสการต่อต้านของนักศึกษาและประชาชนอย่างกว้างขวาง มีการจัด
กิจกรรมทางการเมืองและการชุมนุมบริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ของศูนย์กลาง
นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย เพื่อแสดงความไม่พอใจและเรียกร้องให้มีการลงโทษ
XIV