Page 16 - kpiebook65057
P. 16

ผู้กระทำผิด ต่อมามีการยกระดับการชุมนุมทำให้เหตุการณ์เริ่มตึงเครียด โดยเฉพาะ
               การแสดงละครล้อการเมืองที่เป็นชนวนของการตัดสินใจเข้าปราบปรามนักศึกษา
               ของทหาร ตำรวจในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 จนทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตและ

               มีผู้คนบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม การเมืองภาคพลเมืองซบเซา
               และถดถอยลง การขึ้นสู่อำนาจของรัฐบาลพลเรือนที่มีนโยบายขวาสุดโต่งภายใต้

               นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ทำให้มีการปราบปรามฝ่�ายที่ต่อต้านรัฐ มีการจับกุม
               ดำเนินคดีแกนนำจำนวนมาก ความกลัวที่จะถูกจับกุม ทำให้นักศึกษาต้องหลบหนี
               เข้าไปในเขตป�าเขาและร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยต่อสู้กับ

               อำนาจรัฐ นโยบายปราบปรามฝ่�ายซ้ายอย่างรุนแรงของรัฐบาลทำให้แกนนำ
               ไม่สามารถต้านทานกระแสการปราบปรามได้ อีกทั้งแกนนำบางส่วนยังเปลี่ยน

               อุมดการณ์หันไปสนับสนุนรัฐ ละทิ้งอุดมการณ์เพื่อประชาชน


                              1.1.5) ยุคก่อตัวของการเมืองภาคพลเมือง พ.ศ.2530 - 2540

                              การเมืองภาคพลเมืองในยุคนี้เริ่มขยายขอบเขตไปสู่ต่างจังหวัดมากขึ้น
               นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจที่เริ่มก่อตัวในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา หลังการบังคับใช้แผน

               พัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 พ.ศ. 2504 ส่งผลให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น
               โรงไฟื้ฟื้้า การสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ ส่งผลให้นโยบายของรัฐได้เข้าไปมีผลกระทบต่อ

               ชาวบ้านตามพื้นที่ต่างๆ และการพัฒนาอุตสาหกรรมได้ส่งผลต่อความเสื่อมโทรม
               ของระบบนิเวศ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติลดลง ผลระทบที่เกิดขึ้น
               นำไปสู่การเติบโตขึ้นของกลุ่มเอ็นจีโอ (NGO) นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เกิดการเมือง

               ภาคประชาชนในหมู่ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการต่างๆ และการตัดสิน
               ใจเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อต่อสู้กับอำนาจรัฐ เช่น การจัดตั้งขบวนการสมัชชาคนจน

               สมัชชาเกษตรกรรายย่อย ขบวนการเรียกร้องสิทธิมนุษยชน ขบวนการอนุรักษ์
               สิ่งแวดล้อม ภาคประชาชนหันมาขับเคลื่อนนโยบายทางสังคม ซึ่งผู้ที่มีบทบาทสำคัญ
               คือ นิสิตนักศึกษาที่เคยร่วมต่อสู้ในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เริ่มออกจากป�า

               เพื่อมาทำงานเพื่อสังคมมากขึ้น บางส่วนหันไปเป็นแกนนำชาวบ้านเพื่อเคลื่อนไหว
               ต่อสู้กับอำนาจรัฐ บางส่วนทำงานในมหาวิทยาลัย ผลิตงานทางวิชาการ ต่อมา

               เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 การเมืองภาคพลเมืองเริ่มมีบทบาทสำคัญ



                                                 XV
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21