Page 20 - kpiebook65057
P. 20
ทั้งนี้ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคพลเมือง
ของคนรุ่นใหม่ เกิดจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสาร ที่ทำให้ข้อมูล
ข่าวสารต่างๆ มีความแพร่หลาย และประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น
ปัจจัยเกี่ยวกับการจัดสรรอำนาจทางการเมืองที่ไม่เป็นธรรม การปกครองภายใต้
ระบอบเผด็จการทหารที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและขาดธรรมาภิบาล ผู้นำใช้อำนาจ
เกินขอบเขตนำไปสู่การละเมิดสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ปัญหาทางเศรษฐกิจ
ความเหลื่อมล้ำ ความไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการปัญหาของรัฐ รวมถึง
การเปลี่ยนแปลงค่านิยมที่ประชาชนตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพที่ตนเองพึงมีทำให้มี
การปรับใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในการแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์และ
มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองมากขึ้น ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนมีส่วนกระตุ้น
ให้เกิดการตื่นตัวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่และมีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเป็น
เครื่องมือในการกดดันทางสังคมมากขึ้น
1.2) มโนทัศน์การเมืองภาคพลเมืองของคนไทย
จากการเก็บข้อมูล การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยวิธีการ
สัมภาษณ์กลุ่ม และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิรายบุคคล เกี่ยวกับมโนทัศน์การเมือง
ภาคพลเมือง พบว่า คนไทยมีความเข้าใจการเมืองภาคพลเมืองที่แตกต่างหลากหลาย
ซึ่งสามารถจำแนกความเข้าใจของการเมืองภาคพลเมืองออกมาได้ดังนี้
• การเมืองภาคพลเมืองชั้นแนวคิด หรือการที่พลเมืองตระหนักรู้
ในสิทธิหน้าที่ความเป็นพลเมือง มีความตื่นตัวทางการเมืองและต้องการเข้าไป
มีส่วนร่วมทางการเมือง มีจิตสำนึกสาธารณะที่รับผิดชอบต่อชุมชนสังคม สนใจปัญหา
ของชุมชน และเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น เข้าใจขอบเขตของการใช้สิทธิเสรีภาพ
เช่น การแสดงความคิดเห็นที่อยู่ภายใต้การเคารพสิทธิของผู้อื่น การมีส่วนร่วม
ทางการเมือง มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมในชุมชน
XIX