Page 24 - kpiebook65057
P. 24

1.3)  คุณภาพของพลเมืองไทยและแนวทางในการพัฒนาพลเมืองไทย
                             (ในทัศนะของกลุ่มตัวอย่าง)

                        คุณภาพพลเมืองในปัจจุบัน พบว่า ระบบการศึกษาในปัจจุบันไม่สามารถ
               สร้างพลเมืองให้มีคุณภาพได้ ประชาชนยังถูกอำนาจรัฐอำนาจทุนครอบงำ ทำให้

               การตัดสินใจส่วนใหญ่ขึ้นกับบุคคลที่มีอิทธิพล ที่สามารถชี้นำให้เกิดความเข้าใจ หรือ
               การรับรู้หรือการตัดสินใจและค่านิยมที่เปลี่ยนไป รัฐยังมีการใช้อำนาจเป็นเครื่องมือ

               ในการจัดการกับกลุ่มที่เห็นต่างทางการเมือง อีกทั้ง ระบบการเมืองยังเข้ามาแทรกแซง
               การทำงานของฝ่�ายราชการ ผู้นำชุมชน ภาคประชาสังคม ทำให้เกิดความอ่อนแอ
               ของภาคพลเมือง กฎหมายและนโยบายของรัฐยังส่งผลต่อคุณภาพพลเมืองในปัจจุบัน

               ร่วมด้วย กล่าวคือ รัฐส่งเสริมนโยบายที่เน้นการแจกเงินและสิ่งของ ทำให้ประชาชน
               กลายเป็นผู้ที่รอรับความช่วยเหลือและไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ประชาชนบางส่วน

               ยังอยู่ภายใต้ค่านิยมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และไม่เข้าใจหลักการของประชาธิปไตย
               รวมถึงความเป็นพลเมืองสิทธิเสรีภาพที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญ  ไม่เข้าใจ
               กระบวนการรวมกลุ่มทางสังคม เช่น การรวมกลุ่มเพื่อแก้ไขปัญหาในชุมชน การรวมกลุ่ม

               เพื่อเข้าชื่อเสนอกฎหมาย การมีส่วนร่วมในกระบวนการทางนโยบาย แต่เข้าใจว่า
               การเมืองภาคพลเมืองเป็นการเลือกตั้ง เป็นการเมืองภาคผู้แทน ส่งผลให้ประชาชน

               ไม่กล้าแสดงออก เนื่องจาก เกรงกลัวอำนาจรัฐและไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ความเป็น
               พลเมือง ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถตระหนักในอำนาจของตน ยังอยู่ภายใต้
               การควบคุมดูแลของรัฐ อันเป็นผลมาจากการส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย

               และการเมืองภาคพลเมืองยังทำได้ไม่ครอบคลุมทั่วถึง ที่ผ่านมาการส่งเสริมให้เกิด
               ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองภาคพลเมือง มักเป็นการขับเคลื่อนผ่านสถาบัน

               วิชาการมากกว่าการส่งเสริมผ่านกลไกของภาครัฐ ขณะเดียวกันก็ได้เกิดปัญหา
               ที่ภาครัฐเองก็ยังไม่เข้าใจการส่งเสริมบทบาทของการเมืองภาคพลเมือง ไม่ยอมรับ
               ไม่ต้องการให้ประชาชนรวมตัวกัน และไม่ต้องการให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วม

               ทางการเมือง ส่งผลให้ขาดกลไกในการส่งเสริมความเข้มแข็งและการดำเนินงาน
               ของการเมืองภาคพลเมือง








                                                 XXIII
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29