Page 27 - kpiebook65057
P. 27
8) การสร้างระบบสวัสดิการชุมชนและนำทุนทางสังคมมาใช้ เพื่อ
ปรับปรุงคุณภาพชีวิตและส่งเสริมความรักความสามัคคีในชุมชน
9) การมีกฎหมายเพื่อรองรับการรวมกลุ่มของพลเมือง
10) การรับฟื้ังเสียงของพลเมือง
11) การเมืองภาคพลเมืองที่ปราศจากการแทรกแซงจากหน่วยงาน
ของรัฐและอำนาจรัฐ
12) การเมืองภาคพลเมืองที่มีบทบาทในการเสนอแนวทางการพัฒนา
ทั้งในระดับชุมชนท้องถิ่นระดับจังหวัดจนถึงระดับประเทศ
13) การเมืองภาคผู้แทน ที่มีนักการเมืองที่มีความรู้ความสามารถและ
มีอุดมการณ์เพื่อประชาชน
14) ความเสมอภาคทางเพศในการเข้าไปทำงานทางการเมือง
1.5) ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเมืองภาคพลเมืองในอนาคต
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเมืองภาคพลเมืองในอนาคต จำแนกออกเป็น
2 รูปแบบ ได้แก่ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเมืองภาคพลเมืองในทางบวก และปัจจัยที่
ส่งผลต่อการเมืองภาคพลเมืองในทางลบ ในส่วนของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเมือง
ภาคพลเมืองในเชิงบวก ประกอบด้วย ปัจจัยด้านปัญหาความไม่เป็นธรรมทางการเมือง
การบังคับใช้กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมที่มีปัญหา นโยบายของภาครัฐ
ที่เข้าไปส่งผลกระทบต่อชุมชน ปัจจัยด้านระบบการศึกษา ที่ส่งเสริมให้ภาคพลเมือง
เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง หรือทำกิจกรรมในชุมชน ปัจจัยด้านการสร้างเครือข่าย
ประชาธิปไตยชุมชน ทำให้เกิดชุมชนจัดการตนเองและการเรียนรู้ของพลเมืองใน
ชุมชน เช่น การพึ่งพาตนเอง ปัจจัยด้านการทำรัฐประหาร การยึดอำนาจทางการเมือง
การใช้อำนาจคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชน ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจและ
ความตื่นตัวทางการเมือง ปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เทคโนโลยี
การสื่อสารและปัญญาประดิษฐ์ ทำให้เกิดการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารมากขึ้น มีระบบ
XXVI