Page 32 - kpiebook65057
P. 32

1.7)  ฉากทัศน์ความเป็นพลเมือง ฉากทัศน์การเมืองภาคพลเมือง และ
                             การเมืองภาคพลเมืองที่พึงปรารถนา


                        ในการศึกษาครั้งนี้ได้จัดทำเป็นฉากทัศน์สองส่วน ส่วนแรกคือ ฉากทัศน์

               ความเป็นพลเมือง และส่วนที่สอง คือ ฉากทัศน์การเมืองภาคพลเมือง ซึ่งทั้งสอง
               ฉากทัศน์มีความสัมพันธ์กัน เนื่องจาก ในอนาคตการเมืองภาคพลเมืองจะเป็นอย่างไร
               ขึ้นอยู่กับลักษณะของความเป็นพลเมืองในช่วงเวลานั้น และความเป็นพลเมืองจะเป็น

               อย่างไรก็อาจขึ้นกับการเมืองภาคพลเมืองเช่นกัน


                        จากแนวโน้มและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ที่กล่าวมา
               ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คณะผู้วิจัยได้จัดทำฉากทัศน์ความเป็นพลเมืองและการเมือง

               ภาคพลเมืองโดยแบ่งออกเป็นส่วนละ 4 ฉากทัศน์ ดังนี้


                        ในส่วนของฉากทัศน์ความเป็นพลเมืองด้วยการใช้แนวคิดอนาคตศึกษา
               ได้จำแนกออกเป็น 4 ฉากทัศน์ ได้แก่ พลเมืองที่ไม่สนใจการเมือง (Non-Political

               Citizenship) พลเมืองแบบดั้งเดิม (Conventional Citizenship) พลเมืองที่มีสำนึกผูกพัน
               (Engaged Citizenship) และพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) โดยมีรายละเอียด

               ดังนี้





























                                                 XXXI
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37