Page 28 - kpiebook65057
P. 28
ฐานข้อมูลที่ช่วยเสริมสร้างการเมืองภาคพลเมือง และมีส่วนช่วยให้เกิดการตรวจสอบ
ของภาคพลเมืองมากขึ้น
ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการเมืองภาคพลเมืองในทางลบ ประกอบด้วย
ปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี การเข้ามาแทนที่ของหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์
ที่ส่งผลต่อการจ้างงาน การพัฒนาเศรษฐกิจ รวมถึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่า
นิยมของประชาชน ปัจจัยด้านการเข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทำให้เกิดการใช้สิทธิ
เสรีภาพในการแสดงออกที่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่นในโลกออนไลน์ เกิดการบิดเบือน
ข้อมูลนำไปสู่ความเข้าใจผิด ความขัดแย้งและความแตกแยกทางสังคม ปัจจัยด้าน
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และปัญหาวัยแรงงานลดลง
ที่ส่งผลต่อการแยกสลายรวมตัวกันของภาคประชาชนและภาคประชาสังคม ปัจจัยด้าน
ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และการใช้จ่ายเงินของภาครัฐที่ไม่คุ้มค่ามีประสิทธิภาพ
ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาประเทศและการเมืองภาคพลเมือง รวมถึงการกำหนดนโยบาย
เพื่อที่จะส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพพลเมืองในอนาคต ปัจจัยด้านความขัดแย้ง
ทางการเมืองการทำรัฐประหารยึดอำนาจ และการที่ใช้ระบอบการปกครองที่ไม่เป็น
ประชาธิปไตยส่งผลให้มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง การใช้
กฎหมายในการดำเนินคดีกับประชาชน การใช้กฎหมายจำกัดการแสดงความคิดเห็น
ทางการเมืองของประชาชน ปัจจัยด้านความขัดแย้งทางการเมือง ความไม่ไว้วางใจ
และปัจจัยด้านระบบการศึกษาที่ล้าหลัง ตามไม่ทันการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อคุณภาพ
ของพลเมือง
1.6) ความเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคต่อการเมืองภาคพลเมืองที่พึงปรารถนา
ความเสี่ยงที่มีผลต่อการเมืองภาคพลเมืองที่พึงปรารถนา ประกอบด้วย
ความเสี่ยงใหญ่ๆอยู่ 7 ด้าน ได้แก่ การรวมศูนย์อำนาจทางการเมือง โครงสร้างทาง
เศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ระบบ
การศึกษาที่ล้าหลัง การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม การเปลี่ยนแปลงค่านิยม
XXVII