Page 23 - kpiebook65057
P. 23

1. การเมืองภาคพลเมืองเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของพลเมือง เป็น
             การเมืองภาคพลเมืองที่ประชาชนบางกลุ่มได้รับผลกระทบจากนโยบายรัฐหรือ
             กฎหมายที่มีปัญหา ทำให้เกิดการรวมตัวกันเพื่อออกมาเรียกร้องให้มีการแก้ไข

             กฎหมายหรือนโยบายเพื่อลดผลกระทบ เช่น ปัญหาชาวบางกลอย กลุ่มชาติพันธุ์
             ชาวบ้านในอำเภอจะนะ กลุ่มสมัชชาคนจน เขื่อนปากมูล กลุ่มสมัชชาเกษตรกร

             รายย่อย เป็นต้น พลเมืองกลุ่มนี้เป็นพลเมืองที่เข้ามามีส่วนร่วมในการปกป้องชุมชน
             จากแผนพัฒนาหรือนโยบายรัฐ เรียกร้องให้เกิดการปกป้องสิทธิชุมชน ทั้งนี้ ปัจจัยที่
             ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น นโยบายและกฎหมายที่มีปัญหา

             และส่งผลกระทบต่อชุมชน ทำให้พลเมืองลุกขึ้นเพื่อเรียกร้องให้รัฐแก้ไขปัญหา
             ให้กับชุมชน


                     2. การเมืองภาคพลเมืองในเชิงสร้างสรรค์ คือ การเมืองที่ชุมชนเต็มไปด้วย

             พลเมืองที่มีความกระตือรือร้น (active citizen) และมีความตื่นตัวทางการเมืองสูง
             เป็นกลุ่มพลเมืองที่มีสำนึกทางการเมืองที่ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมกับการใช้อำนาจรัฐ

             เช่น การเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาในชุมชน โดยไม่ได้เกิดจาก
             แรงกดดันจากภายนอก แต่เป็นพลเมืองที่ตื่นรู้และตระหนักถึงหน้าที่พลเมืองในสังคม
             ประชาธิปไตย ที่จะต้องเข้าไปมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น ปัจจัยที่ส่งผล

             ให้เกิดการเมืองภาคพลเมืองในเชิงสร้างสรรค์ เช่น ปัจจัยในด้านค่านิยมทางการเมือง
             กล่าวคือ หากพลเมืองมีค่านิยมทางการเมืองที่สนับสนุนส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย

             สนับสนุนการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การมีส่วนร่วม
             ในกระบวนการทางนโยบายสาธารณะก็จะกระตุ้นให้เกิดพลเมืองต้องการเข้าไป
             มีส่วนร่วมทางการเมือง ตลอดจนปัจจัยในด้านการจัดสรรอำนาจหรือโครงสร้างอำนาจ

             ตามกรอบรัฐธรรมนูญที่เป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย (enabling environment)
             ให้เกิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง เช่น รัฐธรรมนูญ 2540 ที่มีการรับรอง

             สิทธิเสรีภาพเอาไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการคุ้มครองการใช้สิทธิเสรีภาพของ
             ประชาชน ก็จะกระตุ้นให้พลเมืองเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองได้อย่างเต็มที่









                                              XXII
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28