Page 21 - kpiebook65057
P. 21
• การเมืองภาคพลเมืองที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วม คือ การเมืองภาคพลเมือง
ที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในกระบวนการนโยบายและขับเคลื่อน
เชิงนโยบาย มีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน เป็นต้น
• การเมืองภาคพลเมืองในความหมายเดียวกันกับการเมืองภาคผู้แทน
คือ การที่ประชาชนยังไม่สามารถแยกแยะความหมายของการเมืองภาคพลเมืองกับ
การเมืองภาคผู้แทนได้ ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนและมองว่าการเมือง
ไม่ได้เกี่ยวข้องกับประชาชน แต่เป็นเรื่องของการเลือกตั้งผู้แทนเข้าไปพัฒนาประเทศ
หรือการเลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านในระดับหมู่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
• การเมืองภาคพลเมือง ในความหมายการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
• การเมืองภาคพลเมืองในความหมายของการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม
โดยแบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ การรวมกลุ่มเพื่อดำเนินกิจกรรม และการรวมกลุ่มเพื่อ
เรียกร้องสิทธิตามระบอบประชาธิปไตย
จากการรวบรวมข้อมูลสามารถสรุปได้ว่า ความเข้าใจ หรือมโนทัศน์การเมือง
ภาคพลเมืองของคนไทยนั้น ยังไม่เข้าใจการเมืองภาคพลเมืองตามหลักการของระบอบ
ประชาธิปไตย หรือเข้าใจไปคนละแนวทาง เนื่องจาก บางคนเข้าใจว่าการเมือง
ภาคพลเมืองคือ การเมืองภาคผู้แทน เป็นการเลือกตั้งผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่แทน
ประชาชน หรือเข้าใจว่าการเมืองภาคพลเมืองเป็นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
การเมืองภาคพลเมืองคือการดำเนินกิจกรรม การรวมกลุ่ม เป็นต้น ความเข้าใจที่เกิดขึ้น
สะท้อนให้เห็นถึงการตีความการเมืองภาคพลเมืองที่หลากหลาย ซึ่งในความเป็นจริง
นั้นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองภาคพลเมืองจะเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างรากฐาน
ของประชาธิปไตย ซึ่งเป็นฐานของพีระมิดที่จะมีส่วนในการเปลี่ยนแปลงไปสู่ส่วนยอด
ของพีระมิดคือการเมืองภาคผู้แทน อย่างไรก็ตาม การที่ประชาชนยังมีความเข้าใจ
ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการเมืองภาคพลเมืองว่าเป็นการเมืองแบบตัวแทนซึ่งเป็น
ส่วนยอดของพีระมิดเท่านั้น ทำให้ขาดความตระหนักในการพัฒนาการเมือง
XX