Page 18 - kpiebook65057
P. 18
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่มีเจตนารมณ์ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
รวมถึงการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการส่งเสริมสิทธิชุมชน
สิทธิมนุษยชน การจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อทำหน้าที่ในการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้
อำนาจรัฐ และมีการปฏิิรูปทางการเมือง ผลของการมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนทำให้
การเมืองภาคพลเมืองเติบโตขึ้นเพราะมีกลไกสนับสนุน มีองค์กรอิสระและมีกฎหมาย
คุ้มครองการดำเนินงานการเมืองภาคพลเมือง ประชาชนมีค่านิยมที่เป็นประชาธิปไตย
และเลือกผู้แทนโดยพิจารณาจากนโยบายของพรรคมากกว่าผู้นำทางการเมือง การปฏิิรูป
การเมืองส่งผลให้การเมืองภาคพลเมืองยุคนี้มุ่งกดดันในเชิงนโยบายและกฎหมาย
มากกว่าการต่อต้านอำนาจรัฐ ทำให้เกิดการผลักดันนโยบายสาธารณะที่ช่วยพัฒนา
คุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น นโยบายทางด้านสุขภาพ นโยบายด้านการศึกษา
นโยบายด้านหลักประกันทางสังคมต่างๆ และนโยบายสวัสดิการสังคม
แม้ว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 จะให้อำนาจแก่ประชาชนเพื่อเข้ามา
มีส่วนร่วมทางการเมือง แต่องค์ประกอบของรัฐธรรมนูญได้ถูกสร้างมาเพื่อทำให้
ฝ่�ายบริหารมีความแข้มแข็ง ยุคนี้เกิดปัญหาการแทรกแซงองค์กรอิสระของฝ่�ายการเมือง
ปัญหาการทุจริตเชิงนโยบาย ซึ่งทำให้ถูกใช้เป็นเหตุผลของฝ่�ายที่เห็นต่างทางการเมือง
ในการขับไล่รัฐบาลทักษิณ แต่ในอีกด้านหนึ่งการเติบโตขึ้นของการเมืองภาคพลเมือง
ทำให้อำนาจของชนชั้นนำเดิมถูกจำกัดเพราะไปลดอำนาจของคนกลุ่มนี้ลง และส่งผลให้
เกิดความไม่พอใจของกลุ่มอำนาจเก่าและกลุ่มข้าราชการ จึงมีความพยายามที่จะแย่งชิง
อำนาจทางการเมืองกลับคืนมาโดยฝ่�ายการเมืองเก่า นำไปสู่เหตุการณ์ความขัดแย้ง
ทางการเมือง ในช่วงปลายทศวรรษ 2540 จนกระทั่งเกิดการทำรัฐประหาร เมื่อ พ. ศ. 2549
ที่มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อที่จะ
ไปเพิ่มอำนาจให้ฝ่�ายชนชั้นนำ และข้าราชการมากขึ้น ขณะที่บทบาทของการเมือง
พลเมืองถูกจำกัด และการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนต่อเนื่อง
1.1.7) ยุคประชาธิปไตยถดถอย พ.ศ.2550 - 2560
ความขัดแย้งทางการเมืองที่นำไปสู่การรัฐประหารใน พ.ศ. 2549
ทำให้การจัดสรรอำนาจทางการเมืองมุ่งให้อำนาจกับกลุ่มชนชั้นนำและกลุ่มอำมาตย์
XVII