Page 22 - kpiebook65057
P. 22

ภาคพลเมืองในส่วนที่เป็นฐานของพีระมิด จึงจำเป็นต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
               ให้กับพลเมือง รวมถึงการสร้างความเข้าใจให้กับผู้แทนที่ชนะการเลือกตั้งให้เข้าใจ
               ถึงการเมืองภาคพลเมืองไปพร้อมกัน



                        จากการศึกษาพัฒนาการการเมืองภาคพลเมืองตั้งแต่ พ.ศ.2475 - ปัจจุบัน
               และการศึกษามโนทัศน์ความเข้าใจการเมืองภาคพลเมืองมาวิเคราะห์ความหมายของ
               การเมืองภาคพลเมือง สามารถจำแนกความหมายของการเมืองภาคพลเมืองได้เป็น

               สองประเภท ได้แก่ การเมืองภาคประชาชน (People’s Politics) และการเมืองภาคพลเมือง
               (Citizen Politics) การเมืองแต่ละประเภทมีรายละเอียดดังนี้


                        •     การเมืองภาคประชาชน (People’s Politics) คือ ลักษณะของการเมือง

               ที่ประชาชนรวมตัวกันเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจรัฐ (Hard Power) เป็นลักษณะ
               ของการเมืองที่ประชาชนมีความไม่ไว้วางใจ และไม่เชื่อมั่นในรัฐจนทำให้เกิดเป็น

               การรวมกลุ่มกันขึ้น เช่น การประท้วงด้วยการรวมตัวกันบนท้องถนน การเรียกร้อง
               เพื่อให้มีการแก้ไขกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญที่ก่อให้เกิดการลิดรอนสิทธิเสรีภาพ
               ของประชาชน หรือการล้มล้างอำนาจรัฐ เป็นต้น ทั้งนี้ การเมืองภาคประชาชนที่มี

               เป้าหมายเพื่อเข้าไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจรัฐมีสาเหตุมาจากหลากหลาย
               ปัจจัย เช่น การจัดสรรอำนาจที่ไม่สมดุล ความไม่เท่าเทียมในการบังคับใช้กฎหมาย

               ความไม่เท่าเทียมในการจัดสรรทรัพยากร ความเหลื่อมล้ำ ความไม่พอใจในการ
               บริหารจัดการที่ขาดประสิทธิภาพ และได้ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและ
               สังคม เป็นต้น



                        •     การเมืองภาคพลเมือง (Citizen Politics) เป็นลักษณะของการที่
               ประชาชนเข้าไปมีอิทธิพลต่อการใช้อำนาจรัฐ (Soft Power) กล่าวคือ การที่ประชาชน
               มีความตื่นตัวทางการเมืองและต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง เช่น การมีส่วน

               ร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ การมีส่วนร่วมในการแก้ไขกฎหมาย รัฐธรรมนูญ
               หรือการมีส่วนร่วมในการเข้าไปกำกับควบคุมการใช้อำนาจรัฐ เพื่อให้ดำเนินการตาม

               ที่ตนเองต้องการ โดยการเมืองภาคพลเมืองแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่





                                                 XXI
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27