Page 17 - kpiebook65057
P. 17

ในการโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการ และในที่สุดนำไปสู่การเรียกร้องให้มีการปฏิิรูปการเมือง
             และการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน


                           ป  ัจจัยที่มีอิทธิพลในยุคนี้ คือระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่เน้นกลไก

             ตลาดเสรี การค้าเสรีและการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประเทศต่างๆ ปรับใช้
             แนวนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจในการวางยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ แม้ว่า
             ด้านหนึ่งระบบทุนนิยมจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน คุณภาพชีวิตของ

             ประชาชนให้ดีขึ้น แต่ก็นำมาสู่ผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น ผลกระทบ
             เกี่ยวกับช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย ความเหลื่อมล้ำ ความขัดแย้งระหว่าง

             ชาวบ้านกับกลุ่มทุน ปัญหาการสร้างเขื่อน อ่างเก็บน้ำ โรงไฟื้ฟื้้า นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
             วิถีชีวิตของชาวบ้านในชนบท  และผลกระทบต่างๆ  ที่กล่าวมาได้ก่อให้เกิด
             การรวมตัวกันของขบวนการทางสังคม (social movement) เกิดองค์กรภาคประชาสังคม

             องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชาวบ้าน องค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อม องค์กรปกป้องสิทธิ
             มนุษยชน และสิทธิชุมชน


                           1.1.6)  ยุครัฐธรรมนูญฉบับประชาชนและยุคฟื้้�นฟืู้ของการเมือง

                                  ภาคพลเมือง พ.ศ.2540 – 2549

                           การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535
             ที่กองทัพทำการยึดอำนาจ และพลเอกสุจินคา คราประยูร กล่าวว่าจะไม่ดำรงตำแหน่ง

             ทางการเมืองใดๆ แต่สุดท้ายพลเอกสุจินดาได้เข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
             ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจของภาคประชาชน นำไปสู่การชุมนุมประท้วงและมีการ
             ใช้ความรุนแรงในการปราบปรามผู้ชุมนุมจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก

             หลังการลาออกของ พลเอกสุจินดา ประชาชนได้เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีมาจาก
             สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และประธานสภาผู้แทนราษฎรดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา

             ซึ่งข้อเรียกร้องทั้งสองนี้มีการใช้มาจนถึงปัจจุบัน


                           หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ยังมีการเรียกร้องการปฏิิรูปการเมือง
             เพื่อให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน คือ





                                              XVI
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22