Page 14 - kpiebook65057
P. 14
1.1.3) ยุคเรียกร้องประชาธิปไตย (พ.ศ. 2516 – 2519)
ระบบทุนนิยมเสรีมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจภายในจาก
นโยบายการเปลี่ยนประเทศให้ทันสมัยของ จอมพลสฤษดิ์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ค่านิยมทางการเมืองของคนในสังคม ตลอดจนอิทธิพลของแนวคิดสังคมนิยม
ทำให้นักศึกษาได้รับการศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดดังกล่าวมากขึ้น ส่งผลต่อความคิด
และทัศนคติทางการเมืองที่นำไปสู่การหล่อหลอมอุดมการณ์แบบประชาธิปไตย
การตระหนักถึงเรื่องของความเสมอภาคเท่าเทียมของประชาชน สภาพการพัฒนา
ที่ถูกกดทับจากปัญหาเชิงโครงสร้าง ปัญหาทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลเสียดุลการค้ากับ
ญี่ปุ�น การรวมศูนย์อำนาจการปกครองของรัฐบาลเผด็จการ และการใช้อำนาจใน
การปราบปรามฝ่�ายที่เห็นต่างทางการเมืองอย่างรุนแรง นำมาสู่กระแสการเติบโตของ
ขบวนการนิสิตนักศึกษา นำโดยศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ขบวนการ
กรรมกร ขบวนการชาวนา ชาวไร่ และภาคประชาชนราวห้าแสนคนที่ออกมารวมตัว
เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและขับไล่ระบอบเผด็จการในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม
พ.ศ. 2516 นิสิตนักศึกษาแสดงเจตนารมณ์ในการที่จะควบคุมการทำงานของรัฐ
และเปลี่ยนประเทศให้เป็นประชาธิปไตย ภายหลังที่สามารถโค่นล้มระบอบเผด็จการ
ได้สำเร็จก่อให้เกิดความเข้มแข็งของภาคพลเมืองที่ได้ส่งผลให้ระบอบอํามาตยาธิปไตย
ลดบทบาทลง
ป ัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเมืองภาคพลเมืองยุคนี้ คือปัจจัยเกี่ยวกับ
การเข้ามาของระบบทุนนิยม ซึ่งในเวลานั้นระบบทุนนิยมโลกได้แผ่ขยายอิทธิพล
มายังประเทศกำลังพัฒนาโดยเริ่มจากการเขียนแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 เพื่อ
จุดมุ่งหมายในการพัฒนาอุตสาหกรรม ขณะที่ปัจจัยเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ ทำให้ภาครัฐ
มีนโยบายที่มุ่งเน้นไปที่การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและผลักดันให้เกิดการเข้ามาลงทุน
ของต่างชาติ ซึ่งทั้งสองปัจจัยมีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายภายใน นำไปสู่ปัญหา
ความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการแผ่ขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์
ซึ่งเกิดจากผลของการทำสงครามระหว่างสหรัฐอเมริกากับเวียดนาม ทำให้ประเทศ
ใกล้เคียงกับไทยกลายเป็นประเทศที่ปกครองแบบคอมมิวนิสต์ อาทิ ลาว เขมร
XIII