Page 13 - kpiebook65057
P. 13
ย ุคนี้เป็นยุคที่เกิดปัญหาทางการเมืองและการคานอำนาจระหว่าง
กลุ่มอำนาจเก่ากับกลุ่มอำนาจใหม่ รวมถึงปัญหาความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม
ทำให้ประชาชนเริ่มแสดงออกถึงความไม่พอใจมากขึ้น กระแสประชาธิปไตย และ
แนวคิดแบบสังคมนิยมจากตะวันตกเริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อชนชั้นนำไทยที่ไปศึกษา
ในต่างประเทศ รวมถึงแนวคิดแบบสังคมนิยมได้เข้ามามีอิทธิพลต่อนิสิตนักศึกษา เริ่ม
มีการตีพิมพ์บทความในสื่อสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองมากขึ้น เหตุการณ์
ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยในช่วงนั้นคือ เหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่
ในสหรัฐอเมริกา พ.ศ 2472 ที่ส่งผลต่อภาวะทางเศรษฐกิจ การค้าและการพัฒนา
เศรษฐกิจของไทยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้
จึงเป็นปัจจัยที่เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตย
นำโดยคณะราษฎร แต่บทบาทของพลังประชาธิปไตยใหม่และกลุ่มคณะราษฎรได้ยุติลง
หลังการทำรัฐประหาร พ.ศ. 2490 ที่นำสังคมไทยเข้าสู่ระบอบเผด็จการอำนาจนิยม
นายปรีดี ถูกสงสัยว่าพัวพันกับกรณีปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 ทำให้ต้องหลบหนี
ออกนอกประเทศ
1.1.2) ยุคการปกครองของระบอบเผด็จการ (พ.ศ. 2500 - 2516)
ภายหลังเกิดการรัฐประหาร 2490 สังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่การปกครอง
แบบเผด็จการอำนาจนิยม สภาพการเมืองอยู่ภายใต้การปกครองโดยทหารและ
กองทัพ นำโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ต่อเนื่องมาถึงรัฐบาล จอมพล สฤษดิ์
และจอมพลถนอม มีการควบคุมหนังสือพิมพ์ การรายงานข่าว เหตุการณ์ดังกล่าว
เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญทางการเมืองที่ทหารได้เข้ามายึดครองอำนาจทางการเมืองอย่าง
แข็งแกร่ง เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง การปกครอง
ที่กดขี่ประชาชนโดยตำรวจ มีการห้ามตั้งพรรคการเมือง นับตั้งแต่นั้นประเทศไทย
ก็อยู่ในวังวนของการปกครองระบอบเผด็จการและการทำรัฐประหารอีกหลายครั้ง
และในที่สุดความไม่พอใจของประชาชนที่สั่งสมเพิ่มมากขึ้น มีการต่อต้านรัฐบาล
นำโดยขบวนการกรรมการ ชาวนา ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย และ
ภาคประชาชน
XII