Page 35 - kpiebook65057
P. 35

การบิดเบือนข้อมูลข้อเท็จจริง ปัญหาข่าวปลอม (fake news) ที่เป็นอุปสรรคต่อ
            การรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่คลาดเคลื่อนของพลเมืองกลุ่มนี้ จึงต้องมีการส่งเสริมทักษะ
            การรู้เท่าทันสื่อ (media literacy) ให้กับพลเมืองดิจิทัลมากขึ้น



                     คณะผู้วิจัยเห็นว่าฉากทัศน์พลเมืองที่พึงปรารถนา คือ ฉากทัศน์พลเมือง
            แบบมีสำนึกผูกพัน (Engaged Citizenship) ซึ่งเป็นพลเมืองที่มีลักษณะสำคัญในการ
            เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองเพื่อพัฒนาสังคม และเป็นพลเมืองที่จะนำไปสู่

            การพัฒนาวัฒนธรรมแบบประชาธิปไตยในสังคม


                     ในส่วนของผลการศึกษาการจัดทำฉากทัศน์การเมืองภาคพลเมือง
            คณะผู้วิจัยได้ทำการจำแนกฉากทัศน์การเมืองภาคพลเมืองออกเป็น 4 ฉากทัศน์

            ได้แก่ การเมืองภาคพลเมืองที่นำโดยรัฐบาล (Government Led Politics) การเมือง
            ภาคพลเมืองที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน (Technology Led Citizen Politics)

            การเมืองภาคพลเมืองที่นำโดยพลเมือง (Citizen Led Politics) และการเมือง
            ภาคพลเมืองที่นำโดยภาคเอกชน (Private Driven Politics) โดยมีรายละเอียดดังนี้




































                                             XXXIV
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40