Page 37 - kpiebook65057
P. 37
ทางการเมืองหลายขั้ว (multi- polarization) การใช้เทคโนโลยีเป็นตัวนำทำให้พลเมือง
เกิดความตื่นตัวทางการเมืองและมีความคาดหวังที่มากขึ้น เป็นพลเมืองตื่นรู้ เนื่องจาก
สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากช่องทางที่หลากหลาย แต่การมีส่วนร่วมทางการเมือง
กลับทำได้ในระดับที่ไม่มากนัก เนื่องจาก การสื่อสารโดยใช้เทคโนโลยีมีข้อจำกัด
ที่ทำให้การมีส่วนร่วม ไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ พลเมืองที่ใช้เทคโนโลยีจำนวนมาก
มักแสดงความคิดเห็นบนสื่อออนไลน์เป็นหลัก ซึ่งนำไปสู่การมีส่วนร่วมแบบผิวเผิน
(thin participation) ไม่สามารถมีส่วนร่วมในการตัดสินใจกดดันหรือขับเคลื่อนให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงได้
• การเมืองภาคพลเมืองที่นำโดยพลเมือง เป็นการเมืองที่ส่งเสริม
การกระจายอำนาจไปสู่ชุมชน มีการตัดสินใจร่วมกันของพลเมืองเพื่อจัดทำนโยบาย
สาธารณะ มีการใช้หลักประชาธิปไตยแบบประชาเสวนาหาทางออก รวมถึงมีลักษณะ
ที่สังคมเป็นตัวนำการเมือง นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมทางการเมืองเกิดขึ้น
อย่างกว้างขวาง มีการใช้ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ เช่น หลักความโปร่งใส
สำนึกรับผิดชอบ นิติธรรม คุณธรรม จริยธรรม ความคุ้มค่า ก่อให้เกิดเป็นสังคม
แบบชีวาประชาธิปไตย (Organic Democracy) หรือประชาธิปไตยที่พลเมือง
มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง (Meaningful Participatory Democracy)
• การเมืองภาคพลเมืองที่นำโดยภาคเอกชน เป็นลักษณะของการเมือง
ที่มีความเหลื่อมล้ำสูง ระบบทุนนิยมเข้ามาครอบงำความคิดและจิตสำนึกของพลเมือง
ทำให้ความเป็นพลเมืองลดลง พลเมืองส่วนใหญ่สนใจการแสวงหาทรัพย์สินเงินทอง
มากกว่าการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง การพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสาร
มีความก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพิ่มขึ้น
ในเชิงปริมาณแต่ไม่เพิ่มในเชิงคุณภาพ ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมแบบผิวเผิน (thin
participation) เกิดความเหลื่อมล้ำ ทั้งความเหลื่อมล้ำทางเพศ วัย รายได้ การศึกษา
สังคม พลเมืองส่วนใหญ่เป็นพลเมืองที่มีความคิดมิติเดียว คือ การคิดถึงเรื่องปากท้อง
การทำงานเพื่อหาเงิน และการบริโภคเชิงวัตถุ โดยไม่สนใจมิติอื่น ๆ
XXXVI