Page 34 - kpiebook65057
P. 34
• พลเมืองแบบดั้งเดิม (Conventional Citizenship) เป็นพลเมืองที่เข้าไป
มีส่วนร่วมแบบเดิม ๆ เช่น การทำจิตอาสาตามกรอบแนวคิดของรัฐ กล่าวคือ
ทำจิตอาสาต่อเมื่อมีผู้ปกครองหรือผู้นำชุมชนสั่งการให้ทำ ไม่ค่อยมีความกระตือรือร้น
ไม่มีอุดมการณ์ร่วม อยู่ภายใต้การครอบงำทางวัฒนธรรมและถูกครอบงำโดยกลุ่ม
อำนาจ พลเมืองแบบดั้งเดิมได้รับอิทธิพลทางความคิดแบบดั้งเดิม และอยู่ในสภาพ
สังคมที่มีความเหลื่อมล้ำ ส่วนใหญ่พลเมืองแบบดั้งเดิม ไม่ค่อยชอบการเปลี่ยนแปลง
และนิยมการปฏิิบัติตามจารีตประเพณีแบบเดิม ปัจจุบันคนไทยจำนวนมากมีลักษณะ
ของความเป็นพลเมืองแบบดั้งเดิมค่อนข้างสูง
• พลเมืองแบบมีสำนึกผูกพัน (Engaged Citizenship) เป็นพลเมือง
ที่เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง มีความกระตือรือร้นในการเสนอข้อเรียกร้อง
มีจิตสำนึกความเป็นพลเมืองสูง ปรารถนาที่จะเห็นสังคมที่มีความเท่าเทียม ส่วนใหญ่
พลเมืองแบบมีสำนึกผูกพันมักเป็นแกนนำมวลชนที่มีความเสียสละ รับผิดชอบ และ
มีความมุ่งมั่นที่จะต่อสู้เพื่อความถูกต้องและเป็นธรรม พลเมืองแบบมีสำนึกผูกพัน
ส่วนมากอยู่ในบริบทสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำต่ำ
• พลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) เป็นพลเมืองที่ได้รับอิทธิพล
มาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมและเทคโนโลยี มีความสนใจการเมือง
มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อการสื่อสารและโน้มน้าวใจผู้คน เป็น
การเคลื่อนไหวในวงกว้างในสังคมเสมือนจริง พลเมืองดิจิทัลมีการใช้สื่อออนไลน์ รวมถึง
สื่อดิจิทัลในการสื่อสาร เผยแพร่ข้อมูล แสดงความคิดเห็น และเข้าไปมีส่วนร่วมทาง
การเมือง เป็นพลเมืองที่เน้นหลักยุติธรรม ใช้สื่อออนไลน์เป็นเครื่องมือในการกดดัน
ทางสังคมเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พลเมืองดิจิทัลส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่
และกลุ่มคนที่เข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสารมีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ
ในอนาคต เป็นพลเมืองที่มีความรู้เท่าทัน เนื่องจาก สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวก
และรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม พลเมืองดิจิทัลมักมีส่วนร่วมในเชิงปริมาณ แต่ไม่ใช่
ในเชิงคุณภาพ หรือที่เรียกว่าการมีส่วนร่วมแบบผิวเผิน (thin participation) ไม่สามารถ
ขับเคลื่อนข้อเรียกร้องให้เกิดผลในเชิงปฏิิบัติได้ อีกทั้ง การใช้สื่อออนไลน์อาจมี
XXXIII